ที่มาของ"เข็มเหล็ก"


วัตถุประสงค์ : การเขียนเนื้อหาความรู้ เพื่อนักเรียนรายวิชาโครงงานอาชีพ
สร้างข้อมูลโดย : อาจารย์ศกุนตลา ชื่นชอบ (ศูนย์วิทยบริการ ห้อง 231 )

เนื้อหาสาระ : ที่มาของเข็มแบบต่างๆ ประเภทของเครื่องมือเย็บ ปัก ถัก ร้อย
ประวัติเข็ม : ยุคแรก ทำจากส่วนของสัตว์และพืช เช่น หนาม เขี้ยว งา ก้าง ไม้
ยุคพัฒนา เริ่มมาจากหิน แร่โลหะ จนเป็นเข็มเหล็ก ที่มีใช้ปัจจุบัน
ชนชาติแรก : สันนิษฐานว่ามนุษย์ยุดแรกที่รู้จักคิดและทำเข็มใช้คือ ชาวอียิปต์,จีน
ความสำคัญ : ความจำเป็นที่ทำให้มนุษย์ยุคแรกต้องคิดค้นวิธีการทำเข็มไว้ใช้เย็บ
เนื่องมาจากความเป็นอยู่และการหาความสะดวกสบาย ปัจจัย 4 คือ
1. เครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อผ้านุ่งห่ม,รองเท้า,ถุงย่ามใส่ของเดินทาง
2. อาหาร เช่น ภาชนะห่อเก็บอาหาร,ชั้นผูกแขวนเนื้อสัตว์ในที่สูง
3. เครื่องมือรักษาโรค เช่น การฝังเข็ม,การบ่งหนาม,เย็บบาดแผล
4. ที่อาศัย เช่น เย็บผืนหนังหรือใบไม้ ปิดปากถ้ำ,กระโจมเพิงพัก
การดำรงชีพและวิถีชีวิต ของมนุษย์ยุคแรก อาศัยธรรมชาติรอบตัวกับสติปัญญาผู้นำ
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและการมีชีวิตที่ดีขึ้น
ทำให้เกิดความคิดประดิษฐ์สิ่งของใช้สอย สร้างความสุขสบายของตนและครอบครัว
การเดินทาง คือ สิ่งสำคัญอีกข้อ เพื่อหาทำเลท้องถิ่นมีอาหารและที่ปลอดภัย สำหรับพักอาศัย และเมื่อเดินทางไกลจะต้องมีพาหนะขับเคลื่อน ขนย้าย บรรทุกสิ่งของและคนในครอบครัว ระยะทางไกลบางครั้งหลงทาง ต้องแรมวันแรมคืน พาหนะจึงเป็นปัจจัยสี่เกี่ยวกับที่พักอาศัยแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น เกวียน รถม้า เรือใบ ความจำเป็นต้องมีสิ่งหุ้มห่อปกป้องนักเดินทาง ขณะเดินทาง ที่มีทั้งเด็ก ผู้หญิง คนชรา คนเจ็บ สัตว์เลี้ยง ต้องดูแลให้ปลอดภัยพ้นจากแดด ฝน ลม ตอนกลางวัน หรือสัตว์ร้ายที่อาจจะเข้ามารบกวนตอนมืด ในเวลากลางคืนได้แสงสว่างจากไขและน้ำมัน ที่ต้องอาศัยโคมไฟ,คบเพลิง มาตัดเย็บเป็นรูปทรงสวยงามใช้แขวนส่องทางเพื่อป้องกันลมพัด จึงต้องหาวัสดุทำจากพืชหรือสัตว์ มาช่วยอำนวยความสะดวกในเดินทางระหว่างพักกลางคืน
ประเภทของวัสุดุที่พอหาได้จึงมักมาจาก หนัง,ขนสัตว์และผ้าจากเส้นใยพืช เย็บเป็นผืน ตัดตกแต่งใช้ปกคลุมทับหุ้มห่อบนโครงพาหนะหรือเป็นที่นุ่มๆอุ่นๆ ที่รองนั่ง,เก้าอี้, ที่นอน สำหรับทุกคนได้พักผ่อนหลับนอนตลอดการเดินทาง
การเย็บวัสดุ ที่มาจากหนังสัตว์ เยื่อไม้ ใบพืช ผ้าฝ้าย เชือกใย ให้เป็นผืนใหญ่ต่อกัน
ต้องใช้เครื่องมือหลัก คือ "เข็ม" แหลมคม แข็งแรง จึงเป็นที่มาของสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง



ชนิดของเข็มที่นิยมใช้กันทั่วไป แยกเป็น 2 ประเภท
1. เข็มกับงานอุตสาหกรรม
2. เข็มกับงานหัตถกรรม
ลักษณะการใช้เข็มกับงานหัตถกรรม : ควรพิจารณาจากประเภทของงานให้เหมาะสมกับชนิดของเข็ม เช่น
1. เข็มเย็บ ผ้า หนัง กระดาษ
2. เข็มสอย ส่วนของ ขอบ ริม
3. เข็มร้อย ดอกไม้ สิ่งประดิษฐ์
4. เข็มกลัด ตรึง ยึด ติดรั้งชั่วคราว
5. เข็มหมุด ใช้กำหนดจุดเป้าหมายบนแบบหรือชิ้นงานให้แน่นอนก่อนเย็บทับแน่น หรือตรึงมัดอยู่กับที่
6. เข็มปัก สร้างลวดลายบนงานศิลปแขนงต่างๆ เช่นปักเสื้อผ้า ผืนหนัง ตอกจักสาน ลายกระดาษ
7. เข็มถัก มีความยาวและขนาดพิเศษเหมาะกับงานเส้นใย ด้าย เชือก เป็นต้น
8. เข็มเจาะ ช่วยการใช้แรงงานทะลุทะลวงหรือนำทางให้เกิดมีรูร้อย เชือกด้าย สิ่งยึดเหนี่ยวให้ติดชิดกัน



โดย : นาง skuntala chuenchob, matthayom matmakutkasat, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2545