เรียนรู้การใช้งานเสริ์ซ เอ็นจิ

ปัจจุบันนี้ เสิร์ช เอ็นจิ้น (search engine) กลายมาเป็นสิ่ง จำเป็น สำหรับการท่องโลกอินเตอร์เนต เพราะหาก ไม่มีบริการ ช่วยค้นหาข้อมูล เหล่านี้ เราต้องใช้เวลานับหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน ที่จะค้นหาข้อมูล ที่เราต้องการ จะใช้งานครบ ซึ่งเสิร์ช เอ็นจิ้น ก็มีมากมาย หลายเจ้า ให้เราได้เลือกใช้งาน กัน ซึ่ง แต่ละเจ้า ก็มีวิธี การที่ ใช้ค้นหาาข้อ มูล ที่แตกต่างกัน เราสามารถแบ่ง เว็บไซต์ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล ออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

การบริการค้นหาโดยใช้ อินเด็กซ์ (index)

การบริการค้นหา ข้อมูลตามหมวดหมู่ (directory)

ข้อแตกต่าง ระหว่างวิธีการทั้งสอง เปรียบเทียบได้ว่า ให้เว็บไซต์ที่มีอยู่ทั้งหมด เป็นหนังสือหลายล้านเล่ม เทคนิคการ ใช้ อินเด็กซ์ ก็คือ การทำบัญชีรายการ ของคำ ทุกคำ ที่มีอยู่ใน หนังสือทุกเล่ม เมื่อ เรามองหาคำที่เราต้องการ จากบัญชีนี้ เราจะทราบทันทีว่า หน้าใดของหนังสือเล่มใด ที่มีคำ ๆ นี้อยู่ บ้าง ส่วนอีกวิธีหนึ่ง จะทำการแบ่งประเภท ว่า หนังสือแต่ละเล่มมีหัวเรื่องตรงกับ ประเภทใหญ่ ๆ อะไรบ้าง แล้วนำหนังสือมาวางเรียง ไว้ภายใต้หัวเรื่อง ประเภทเดียวกัน รอให้เรามาค้นต่อไป

การค้นหาโดยใช้อินเด็กซ์
เราคง เคยได้ยินชื่อ เสิร์ช เอ็นจิ้น อย่าง อัลตาวิสต้า (AltaVista/www.altavista.digital.com) และฮ็อทบ็อท (HotBot/www.hotbot.com) ทั้งสอง เป็นตัวอย่างของเสิร์ช เอ็นจิ้นนี้ หลักการคือ เขาจะม ีโปรแกรมตัวหนึ่ง เป็นตัวสแกน ไปตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เรียกว่า โปรแกรม สไปเดอร์ การค้นหา ข้อมูลโดยใ ช้ อินเด็กซ์ มีจุดเด่นอยู่ ตรงฐานข้อมูล ที่ใหญ่โตและยัง มีการปรับปรุงข้อมูล ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดเวลา เพราะ สไปเดอร์มัน ทำงาน ไม่หยุด ยกตัวอย่าง เช่น ถ้า เราต้องการค้นหาข้อมูลใน อัลตาวิสต้า เพื่อขอรายละเอียด เกี่ยวกับตัว "Spider" เราก็จะ ได้ผลลัพธ์ ออกมาว่า มีเว็บเพจประมาณ 39,000 หน้า ที่มีคำนี้อยู่ ซึ่งนี่ คือข้อเสียของ การค้นหาด้วยวิธีนี้

การค้นหาตามหมวดหมู่
เสิร์ช เอ็นจิ้น ชื่อดังอีก 2 ตัว ได้แก่ ยาฮู (Yahoo!/www.yahoo.com)และแมกเจลแลน (Magellan/www.magellan.com) เลือกใช้เทคนิคนี้ โดยใช้มนุษย์ เป็นคนจัดหมวดหมู่ ของเว็บไซต์ และคอย ปรับปรุงให้ขอมูล ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากบัญชี รายชื่อเว็บไซต์ ได้ผ่านการจัด หมวดหมู่โดยมนุษย์ ดังนั้น ในรายชื่อก็จะมี รายละเอียด คร่าว ๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ ที่เพิ่มเติม ลงไป ข้อของการค้นหาแบบนี้คือ จะสามารถตีกรอบผลลัพธ์ ออกมาตรง กับความ ต้องการ มากขึ้น เช่น เราลองใส่คำว่า "Spider" ในยาฮู! ค้นหาดู เราจะได ้รายการของ หมวดหมู่ออก มา เช่น zScience: Zoology: Animals,Insects and Pets: Arachnids แล้ว ก็มี Computers and Internet: Internet: World Wide Web: Searching the Web: Robots,Spiders, ด้วย รายชื่อหมวดหมู่เหล่านี้ จะช่วยให้เรา ค้นหา ความหมายตามที่เรา ต้องการ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อเสียของ การค้นหาของยาฮู! คือ มันจะค้นหาเฉพาะหน้าที่เป็น โฮมเพจ(หน้าแรก) ของแต่ละเว็บไซต์ เท่านั้น

สำหรับผล การค้นหา ข้อมูลของ Yahoo จะแสดงผลเป็น แต่ละหัวข้อเรียงกันไป โดยในแต่ละ หัวข้อจะมีคำบรรยาย ย่อ ๆ ในเราพอ ทราบ ว่าหัวข้อ ที่ค้นหามา ได้นั้น เป็นเรื่องราวเกียวกับอะไร เพื่อที่เราจะได้เลือกค้นหา สิ่งที่เราต้องการจากหัวข้อ เหล่านั้นต่อไป แต่ผล การค้นหาข้อมูล แบบ Yahoo จะไม่มีคะแนนหรือเปอร์เซ็นต์ ความใกล้ เคียงของผลลัพธ์ กับสิ่งท่ต้องการค้นหา แสดงให้เราทราบ อย่างตัวค้นหาอื่น ๆ เราสามารถเข้าไปทดสอบความสามารถของ Yahoo ได้ที่ http://www.yahoo.com

นอกจากนี้ Infoseek ยังมีเทคนิค ที่ใช้ กำหนด ให้ค้นหา ข้อมูลเจาะจงในแบบต่าง ๆ ได้อีกด้วย คือ ถ้าต้องการ ให้ค้นหา คำ สองคำ ที่ติดกัน ก็ได้ใช้เครื่องหมาย (-) ระหว่างคำ เช่น cable-network จะหมายถึง การค้นหาข้อมูล เกี่ยวกับ วิทยุหรือโทรทัศน์ ที่ให้บริการ cable network อย่างเช่น CNN แต่ถ้าไม่ใส่เครื่องหมาย (-) จะเป็นการค้นหาข้อมูล เกี่ยวกับ cable หรือ network ก็ได้ ซึ่ง จะรวมถึง การต่อ LAN สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับเคเบิ้ล เราอาจใช้เครื่อหมาย " " แทนเป็น "cable network" ก็จะได้ผลเหมือนกัน

ผลลัพธ์ ที่ได้ จากการค้นหา ขอ้มูลใน Infoseek จะแสดงเป็นหัวข้อ เรียงตามลำดับ ความใกล้เคียง กับสิ่งที่เราค้นหา โดยมีคะแนน ความใกล้เคียง แสดงอยู่ ในวงเล็บ พร้อมบอกขนาดของเอกสาร นั้น ด้วยว่ามี ขนาดกี่กิโลไบต์ นอกจากนี้ยัง แสดง ข้อความย่อของแต่ละหัวข้อนั้น ประกอบด้วย เพื่อที่เราจะได้อ่านดูว่า มีเอกสารใดตรงกับ สิ่งที่เราต้องการ เราสามารถเข้าไปทดสอบความสามารถของ Infoseek ได้ที่
http://www.infoseek.com

เข้าถึงได้จาก : http://www.np.co.th/intro/search/intro_7.htm



โดย : นางสาว Laddaporn ngamthura, klonglong, วันที่ 4 มีนาคม 2545