จังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ
ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ประการังใต้ทะเล
เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา "





บริเวณจังหวัดตรังในสมัยโบราณ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานการขุดพบโบราณวัตถุสมัยหินใหม่ เช่น เครื่องมือหิน ภาชนะ โครงกระดูก ฯลฯ ที่ตำบลนาล่าง อำเภอเมืองตรังและได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิหินยานจากอินเดีย ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชปกครองนครศรีธรรมราช ก็มีเมืองตรังเป็นหนึ่งในจำนวนเมืองขึ้นทั้ง 12 เมือง มีสัญลักษณ์เป็นตราม้าหรือมะเมีย และขึ้นตรงต่อเมืองนครฯ เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการตั้งเมืองตรังขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแต่งตั้งพระอุไภยธานีเป็นเจ้าเมืองตรังคนแรก และได้มีการสร้างหลักเมืองตรังไว้ที่ ควนธานี ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อ พ.ศ. 2433 ทรงเห็นเมืองตรังมีสภาพทรุดโทรม จึงทรงโปรด ฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มา ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง และสร้างความเจริญให้แก่ตรังอย่างมากมาย โดยย้ายเมืองไปตั้งที่กันตัง ปากแม่น้ำตรัง และพัฒนาเป็นเมืองท่าการค้าและยังได้ส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราที่จังหวัดตรังเป็นแห่งแรก เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองตรังจึงถูกรวมเข้าเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลภูเก็ต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าที่ตั้งตัวเมืองตรังเดิม คือ เมืองกันตังไม่ปลอดภัย
จากศัตรู ไม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด ทั้งยังเป็นที่ลุ่มมาก น้ำทะเลท่วมถึง จะขยายตัวเมืองได้ยาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองไป ตั้งที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรังมาจนทุกวันนี้ และเมื่อมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 เมืองตรังจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยครับ







ทิศเหนือจดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออกจดพัทลุง
ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรอินเดียและกระบี่

จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ๘๒๘ กิโลเมตร เป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยด้านมหาสมุทรอินเดียมาแต่โบราณ มีเนื้อที่ ๔๙๑๗ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง ห้วยยอด กันตัง ปะเหลียน สิเกา ย่านตาขาว วังวิเศษ นาโยง และ กิ่งอำเภอรัษฎาครับ



โดย : เด็กชาย กิติพงศ์ คงแจ้ง, ร.ร.ห้วยยอด, วันที่ 6 มีนาคม 2545