คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์งาน


การเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนที่อยู่ในถิ่นชนบทถ้านักเรียนไม่รู้จักการสร้างสรรค์งานในขณะที่มีอุปกรณ์เพียงพอใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นสนใจแต่เรื่องเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อรับแต่ความรู้ดูหนังฟังเพลง ก็เหมือนได้แต่รับความรู้ แต่เอามาใช้สร้างสรรค์งานไม่เป็น ทำอย่างไรเด็กไทยจึงจะสามารถพัฒนาตัวเองมีแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาสร้างโอกาสให้กับตนเองพลิกผันให้สามารถทำงานให้เกิดผลอย่างน่ายกย่อง แต่ใครจะมีส่วนสนับสนุนในสิ่งเหล่านี้ จริงๆแล้วครูอาจารย์ที่สอนก็พยายามเอาใจใส่อยู่แล้วแต่จำเป็นที่จะต้องเลือกนักเรียนที่ใส่ใจจริงๆมาพัฒนาตัวเอง ถ้ามัวแต่ห่วงนักเรียนที่ไม่ใส่ใจอาจจะทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุดังนั้น ความไม่สมดุลจึงเกิดขึ้น นั่นคือจะมีเด็กซักกี่คนที่ได้รับการสนับสนุนให้ได้พัฒนาตัวเอง แต่จะมีอีกซักกี่คนที่น่าเสียดายที่ไม่ได้ใส่ใจ สาเหตุบางอย่างที่อาจจะคาดไม่ถึงที่ทำให้นักเรียนบางส่วนไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกอย่างอาจจะไม่ใช่เพราะอุปกรณ์ไม่เพียงพอ แต่อาจจะมาจากความเบื่อหน่ายของครูอาจารย์ที่มาสอนนักเรียนเหมือนถูกบังคับให้สอน หรือนักเรียนถูกบังคับให้เรียนก็ได้
ฉะนั้นเราจำเป็นต้องเปิดใจให้กว้างสำหรับการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องไม่ซีเรียสกับนักเรียนที่ไม่เอาใจใส่แต่เอาใจใส่นักเรียนที่สนใจและมีความสามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้นได้ ถูกต้องหรือไม่ล่ะ น่าจะใช่ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดจำเป็นต้องดูแลอย่างยุติธรรมสำหรับนักเรียนทุกคน เราอาจจะให้นักเรียนที่เรียนดีหรือเอาใจใส่ มาเอาใจใส่เพื่อนที่ไม่เอาใจใส่ งง! หรืออาจจะสร้างนักเรียนที่สนใจให้มาเป็นผู้สอนต่อไปก็คงจะดี









การศึกษาคอมพิวเตอร์ไม่เพียงแต่การอ่านเท่านั้นแต่ต้องฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังโดยที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้เวลาได้เพราะช่วงเวลาแต่ละวินาทีสำหรับครูอาจารย์ และนักเรียนที่สำคัญที่สุดคือช่วงเวลาปิดเทอมสำคัญที่สุดว่านอกจากจะหาที่เรียนเพิ่มเติมแล้วยังต้องหาเวลาว่างมานั่งลงแล้วปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างสรรค์งานในเรื่องใดๆก็ได้แน่นอน อะไรที่ว่ายากต้องไม่ยาก คนเราไม่มีใครที่ไม่ลงมือทำแล้วยังบอกว่าทำไม่ได้ ยังไงซะไม่ได้ก็ต้องได้อย่างน้อยๆ ต้องได้ทำ



โดย : นางสาว ชุลีพร ปานธูป, ทุ่งกะโล่วิทยา, วันที่ 14 มีนาคม 2545