ประกอบพีซีด้วยตัวเอง


ปัจจุบันความนิยมในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งานเอง เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยที่สาเหตุหลักก็คือนอกจากจะช่วยประหยัดค่า ใช้จ่ายและช่วย ให้ได้เครื่องที่ตรงตามความต้องการ ของคุณอย่างแท้จริงแล้ว ยังช่วยหลีกเลี่ยงปัญหา จากการ ออกแบบเฉพาะซึ่งเป็นลูกเล่นอีกวิธีหนึ่งที่บริษัท ผู้ผลิตเครื่อง คอมพิวเตอร์ หลายรายนิยมใช้เพื่อบังคับให้คุณจำต้องซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติม จากบริษัทเดิมอย่าง เลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดการประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งานเองนี้ยัง ช่วยให้คุณมีความคุ้นเคยกับระบบและ เครื่องคอมพิวเตอร์ในแทบทุกแง่มุมอีกด้วย
ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลานานที่สุดขั้นตอนหนึ่ง รวมทั้งต้อง ไตร่ตรองอย่างรอบ
คอบ เพราะคุณต้องตอบคำถามต่าง ๆ เช่น จะซื้ออุปกรณ์ชิ้นไหน บ้าง แล้วอุปกรณ์แบบใดจะดีที่สุด ต่อไปนี้ คุณจะพบลำดับของการ ประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณสามารถ ทำตามได้เป็นขั้นตอน จากนั้นคลิกที่รูป ลูกศรด้านขวาท้ายหน้า เพื่อไปยังขั้น ตอนถัดไป และหาก ต้องการย้อน กลับไปขั้นตอนก่อนหน้า ให้คลิกที่รูปลูกศรด้านซ้าย

สำหรับสถานที่จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นมีให้เลือกมากมาย คุณอาจ ไปที่ร้านขายปลีกใกล้ ๆบ้านเพื่อความสะดวกในการ ขอความ ช่วยเหลือ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญไม่น้อย แต่สิ่งที่คุณต้องทำใจก็คือคุณอาจ ต้องจ่ายแพง กว่าปกติหรืออาจแพงกว่ามากในบางครั้ง

แทบทุกเมืองจะมีร้านขนาดเล็กซึ่งจำหน่ายและรับซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อยู่ด้วย โดยมักจะไม่ได้เป็นร้านค้าขนาดใหญ่โต แต่มักจะเป็นออฟฟิศแบ่ง
เช่าหรือตามห้างเสียมากกว่า โดยข้อดีก็คือ ร้านค้าประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้าง
ถูกและคุณจะได้รับการเอาใจใส่มากกว่า โดยที่ฮาร์ดแวร์มักจะเป็นแบบประกอบ สำเร็จมาจากโรงงานที่ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงซึ่งพร้อมสำหรับการ
ใช้งานได้ทันที นอกจากนี้จะมีการจำหน่ายฮาร์ดแวร์ OEM อื่น ๆ ซึ่งมักจะ
ห่อไว้ลวกๆ และมีเอกสารประกอบไม่มากนัก คุณจึงต้องพิจารณาฮาร์ดแวร์
์ประเภทนี้อย่างรอบคอบ ในกรณีที่คุณต้องการเอกสารประกอบอย่างครบถ้วน
คุณก็ไม่ควรเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ประเภทนี้

เราจะเริ่มจากการพิจารณาฮาร์ดแวร์แต่ละชนิด โดยจะไม่เปรียบเทียบฮาร์ดแวร์
ต่างชนิดยี่ห้อ เพราะข้อมูลดังกล่าวสามารถพบได้จากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มักจะมี
การแนะนำฮาร์ดแวร์แทบทุกประเภทเป็นหลักอยู่แล้ว แต่เราจะมุ่งเน้นที่การ
ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น

เคส:
ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณได้ซื้อเคสซึ่งมีพื้นที่ว่างภายในเครื่องเพียงพอสำหรับ
ความต้องการของคุณ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเลือกระหว่างโครงเครื่องแบบ
เดสก์ทอปหรือทาวเวอร์ โดยให้คำนึงถึงพื้นที่สำหรับปรับขยายได้ในอนาคต:
ช่องใส่ไดรฟ์สำรอง, พื้นที่ว่างสำหรับการทำงานในโครงเครื่อง เป็นต้น และต้อง มี หม้อแปลง ให้มาพร้อมกับเคสด้วย นอกจากนี้ยังต้องตรวจ สอบว่าเคสสะอาดดีหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องเลือกรูปแบบของโครงเครื่องด้วย กล่าวคือแบบ AT หรือ ATX หากคุณต้องการอัปเกรดอีกมากในอนาคต คุณต้องเลือกซื้อเคสที่ออกแบบเพื่อรองรับการอัปเกรดโดยเฉพาะ เช่น การที่สามารถถอดเมนบอร์ด แร็คสำหรับติดตั้งไดรฟ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ได้โดยง่าย ส่วนสวิตช์เทอร์โบและคีย์ล็อคนั้นเป็น เทคโนโลยีเก่าที่ไม่จำเป็น อีกต่อไป คุณจะต้องให้ความสำคัญกับความเรียบร้อยในโครงเครื่องอย่างมาก เคสที่มีราคาถูกมาก ๆ มักจะบอบบางภายใน นอกจากนี้คุณควรพิจารณา การถอดประกอบเคส โดยให้พิจารณาถึงการออกแบบ โครงเครื่องแบบ ที่ไม่ต้องใช้สกรูซึ่งจะสะดวกในการถอดประกอบ คุณจึงควรเลือกใช้เคส ที่ไม่ต้องถอดแยกเป็นหลายชิ้น

เมนบอร์ด :
ต้องสามารถติดตั้งลงในเคสที่คุณเลือกได้และต้องสนับสนุนฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่
คุณต้องการใช้งาน อย่าลืมหาอ่านผลการทดสอบเมนบอร์ดมาเยอะๆ เพื่อมองหา
เมนบอร์ดที่มีประสิทธิภาพดี นอกจากนี้คุณยังควรท่องไปในเครือข่ายอินเตอร์
เน็ต เพื่อดูข้อมูลการทดสอบของบอร์ดที่คุณจะเลือกใช้งานด้วย นอกจากนี้ยังควรคำนึง ถึงการปรับขยายได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ เคล็ดลับสำหรับการ เลือกซื้อเมนบอร์ด เนื่องจากหากจะแจกแจงข้อมูล ในหัว ข้อนี้โดยละเอียดต้อง ใช้เวลามาก นอกจากนี้ยังไม่ใช่ ่ประเด็นสำคัญ ในการประกอบเครื่องพีซี ดังนั้นเราจะข้ามไปก่อน

โปรเซสเซอร์ :
การเลือกซื้อซีพียู อาจนับได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด
ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้ตรงตามความต้องการความเร็วใน
การทำงานของซีพียูและงบประมาณของคุณ หลักการง่าย ๆ คือ ให้เลือกซื้อ
ซีพียูที่มีความเร็วมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรพิจารณาถึง
ประเภทของโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่คุณต้องใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้
หากคุณเป็นคอเกมที่นิยมเกมประเภทสามมิติ(3D) อย่างมาก คุณย่อมต้องคำ
นึงถึงความสามารถในการประมวลผลข้อมูลแบบ 3D ซึ่งคุณย่อมต้องการซีพียู
ระดับเพนเทียม II หรือ Celeron ของอินเทล รวมทั้งซีพียู K6 รุ่นล่าสุดที่มี
คุณสมบัติ 3DNow จะสามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดี
แต่ยังคงมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย สำหรับโปรเซสเซอร์
ซ็อกเก็ต 7 (Socket 7) ทั้งหมด ให้คุณตรวจสอบขาของซีพียูว่ามีการงอ
หรือไม่ แต่ห้ามสัมผัสขาของซีพียูเป็นอันขาด

หน่วยความจำ:
ตรวจดูให้แน่ใจว่าเมนบอร์ดของคุณสนับสนุนหน่วยความจำที่คุณเลือกซื้อ โดย
ให้เลือกพิจารณาทั้งสองประเภท และจะดียิ่งขึ้นหากคุณปรึกษาบริษัทผู้ผลิตเมน
บอร์ดว่าหน่วยความจำใดที่แนะนำให้ใช้ร่วมกับเมนบอร์ดนั้น ๆ แม้ว่าในกรณี
ทั่วไปจะสามารถใช้หน่วยความจำชนิด SDRAM ได้ก็ตาม เมนบอร์ดบาง
ชนิดอาจเลือกมากกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ขณะที่จับหน่วยความจำ ให้คุณหลีกเลี่ยงการ
สัมผัสบริเวณหน้าสัมผัส ถ้าใช้เมนบอร์ดที่สนับสนุนหน่วยความจำชนิด
SDRAM ก็ให้ติดตั้งหน่วยความจำชนิด SDRAM ลงไป ส่วนกรณีที่คุณมี
เมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งหน่วยความจำ ได้ทั้งชนิด EDO และ SDRAM
สิ่งที่คุณต้องทราบก็คือเมื่อใดก็ตามที่คุณติดตั้งหน่วยความจำชนิด EDO ลง
ในระบบ หน่วยความจำชนิด SDRAM ที่ติดตั้งไว้จะลดความเร็วในการทำ
งานลงโดยอัตโนมัติเพื่อให้เท่ากับความเร็วในการทำงานของหน่วยความจำ
ชนิด EDO ซึ่งมีความเร็วในการทำงานที่ต่ำกว่า นอกจากนี้หากคุณเลือกซื้อ
เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่มีความเร็วบัสที่ 100 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) คุณต้องเลือก
ซื้อหน่วยความจำชนิด PC100 SDRAM เนื่องจากหน่วยความจำชนิด
SDRAM แบบธรรมดาจะไม่มีเสถียรภาพพอเพียง และให้ซื้อโมดูลหน่วย
ความจำแคชมาติดตั้งในกรณีที่เมนบอร์ดของคุณไม่ได้ติดตั้งไว้ ซึ่งในเมน
บอร์ดรุ่นใหม่ ๆ จะติดตั้งไว้ให้แล้ว

การ์ดแสดงผล:
หากเมนบอร์ดของคุณสนับสนุนการ์ดแสดงผลชนิด AGP ให้เลือกใช้การ์ดดัง
กล่าว แม้ว่าในหลาย ๆ กรณี ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าการ์ดแบบ PCI จะไม่แตก
ต่างมากนักก็ตาม อย่างไรก็ตามคุณจะได้สล็อต PCI เหลือสำหรับใช้งานอื่นที่สำ
คัญกว่า หากบอร์ดของคุณไม่สนับสนุนการ์ด AGP คุณย่อมไม่มีทางเลือกอื่น
นอกจากการ์ดชนิด PCI โดยให้พิจารณาลักษณะการใช้งานหลัก ๆ ของคุณ เช่น
โปรแกรมทางธุรกิจ หรือใช้เล่นเกม 3D หากต้องใช้งานกราฟิก คุณย่อมต้อง
การการ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพปานกลางไปจนถึงแบบที่มีประสิทธิภาพ
สูงสุด โดยควรเลือกซื้อการ์ดจากผู้ผลิตรายใหญ่ในวงการมัลติมีเดีย เช่น
Diamond อย่างไรก็ตาม การ์ดอื่น ๆ เช่น Trident ก็สามารถใช้งานได้ดี
สำหรับงานทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ในปัจจุบัน การ์ด 2D/3D ประสิทธิภาพสูงมี
ราคาลดลงอย่างมาก การเลือกใช้การ์ด 2D/3D จึงนับว่าน่าสนใจไม่น้อย
อาทิเช่น การ์ด Diamond Vipers และ Matrox G200 เป็นต้น

ฟล็อปปี้ไดรฟ์:
ไม่มีรายละเอียดมากมายนักสำหรับอุปกรณ์ชิ้นนี้ สิ่งที่ควรทำมีเพียงเลือกไดรฟ์
ที่ดูดีและตรวจสอบเข็มของไดรฟ์ อ้อ! อย่าเผลอไปซื้อฟล็อปปี้ไดรฟ์ขนาด
5.25" มาล่ะครับ!

ฮาร์ดดิสก์:
เลือกไดรฟ์ที่ดูดี ซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่แกะกล่องเท่านั้น และให้ตรวจดูว่ามีคู่มือให้มา
ด้วย และเมื่อพิจารณาถึงการสามารถใช้งานร่วมกันได้และราคาแล้วก็ขอแนะนำ
ให้เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ชนิด IDE โดยให้ตรวจดูว่าเป็นชนิด UDMA อย่างไรก็
ตามหากคุณต้องการความเร็วในการทำงานมาก คุณต้องเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ชนิด
SCSI แต่คุณต้องซื้อฮาร์ดแวร์อื่น ๆ เพิ่มเติมสำหรับการใช้งานบัส SCSI ด้วย
นอกจากนี้ให้เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากที่สุดเท่าที่คุณมีงบพอ แม้ว่าโดย
ทั่วไปมักจะเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุ 4 และ 6 กิกะไบต์เป็นมาตรฐาน แต่ไม่
นานจะพบว่าฮาร์ดดิสก์เต็มเร็วกว่าที่คิด หากคุณเป็นเกมเมอร์ตัวยงหรือใช้งาน
ด้านการตกแต่งภาพและท่องอินเตอร์เน็ตเป็นกิจวัตรแล้วล่ะก็ ทางที่ดีควรเลือก
ซื้อฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่านี้ครับ

ไดรฟ์ซีดีรอม:
ตรวจดูว่ามีดิสเก็ตต์สำหรับติดตั้งไดรเวอร์ให้มาด้วย โดยที่คุณควรติดตั้งให้
ไดรฟ์ซีดีรอมสามารถใช้งานได้โดยเร็วที่สุดเพื่อจะได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ได้ต่อไป ปัจจุบันราคาของไดรฟ์ซีดีรอมมีราคาถูกลงมากในปัจจุบัน โดยให้
เลือกใช้ไดรฟ์ชนิด ATAPI ที่สามารถใช้งานร่วมกับ IDE ได้ เนื่องจาก ไดรฟ์บางชนิดอาจดูคล้ายไดรฟ์ IDE แต่ที่จริงยังใช้อินเตอร์เฟซแบบเก่า ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่ใช้ในชุดคิทสำหรับมัลติมีเดียรุ่นเก่าของบริษัท Creative
ครับ

แป้นพิมพ์และเมาส์:
ให้ตรวจดูว่าหัวเสียบของแป้นพิมพ์สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กจากเมนบอร์ดได้ มิฉะนั้นคุณต้องใช้อะแดปเตอร์ช่วย ตรวจดูว่าเมาส์ใช้งานได้และให้เลือกชนิด ของแป้นพิมพ์และเมาส์ตามที่ต้องการ กล่าวคือ ชนิดอนุกรม( (serial) หรือ
แบบ PS/2 และหากคุณชอบก็อาจเลือกใช้แป้นพิมพ์ "Natural
Keyboards" ซึ่งมีการทำงานเหมือนกับแป้นพิมพ์ทั่วไปแต่จะมีการดัดโค้ง
ที่ส่วนกลางแป้นพิมพ์ โดยต้องใช้เวลาสักระยะในการสร้างความ คุ้นเคยแล้ว คุณจะพบว่ามันมีประโยชน์มากทีเดียว นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกใช้เมาส์ได้ มากมายหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นแบบที่มีล้อเลื่อนจอ(scroll wheel) เป็นต้น

แผงระบายความร้อน/พัดลมระบายความร้อน:
ให้เลือกใช้แผงระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนตามชนิดของโปร
เซสเซอร์ที่ต้องการใช้ หากไม่มีการติดตั้งให้มาพร้อมกับซีพียู คุณอาจต้องหาซื้อ
แผง ระบายความร้อนมาติดตั้งเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า จะจำเป็นต้องติดตั้งแผงระบายความร้อนในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเสมอ
ไป เนื่องจากคลิปสำหรับติดตั้งแผงระบายความร้อนสำหรับติดตั้งลงในซ็อกเก็ต
ของ CPU มีสายไฟสำหรับพัดลมระบายความร้อนของซีพียู ให้คุณซื้อพัดลม ระบายความร้อนมาติดตั้ง โดยที่คุณไม่ต้องต่อสายไฟของหม้อแปลงเพิ่ม

สายไฟของไดรฟ์:
ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณได้รับสายเคเบิลทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการเชื่อมต่อ
ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์และไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับส่วน I/O บนเมนบอร์ดหรือ
บนการ์ด I/O โดยที่สายเคเบิลเหล่านี้มักจะให้มาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือ
ไดรฟ์ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปหรืออาจไม่พอกับจำนวนที่คุณต้องการ

สายเคเบิลสำหรับสัญญาณเสียง:
โดยปกติจะให้มาพร้อมกับไดรฟ์ซีดีรอม ใช้สำหรับเชื่อมต่อไดรฟ์ซีดีรอมเข้า
กับการ์ดเสียงโดยตรง

สกรู:
ตรวจดูว่าคุณมีสกรูครบตามที่ต้องการใช้ โดยปกติจะให้มาพร้อมกับเคสให้ ตรวจสอบขนาดของสกรูสำหรับติดตั้งการ์ดต่าง ๆด้วย โดยที่หากคุณพยายาม ใช้สกรูขนาดใหญ่กว่าขนาดสกรูสำหรับไดรฟ์อาจทำให้ไดรฟ์เกิดความเสีย
หายได้

เท่าที่กล่าวมาแล้ว ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดข้างต้น เพียงพอสำหรับการประกอบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งานเอง ส่วนฮาร์ดแวร์อื่น ๆ นั้นอาจเป็นองค์ประกอบ
เพิ่มเติมซึ่งจะมีการกล่าวถึงต่อไป เช่น ซิฟไดรฟ์ เทปไดรฟ์หรือไดรฟ์ DVD
และอื่น ๆ



เป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด สิ่งที่คุณต้องทำมีเพียงเปิดฝาครอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ออกจากเคสตัวใหม่ที่คุณซื้อมาเท่านั้น หากคุณซื้อเคสแบบเก่ามา ให้ใช้ไขควงคลายสกรูหกตัวด้านหลังเคสออก ซึ่งจะอยู่ที่มุมของเคส จากนั้นให้เก็บรวบรวมสกรูไว้ด้วยกัน หลังจากปลดสกรูออกจากเคสแล้ว ฝาครอบเครื่องจะสามารถถอดออกได้เป็นชิ้นเดียวกัน โดยจะเป็นการเปิดฝาครอบเครื่องด้านบนและด้านข้างออกจากโครงเครื่อง ในบางกรณี คุณอาจต้องดึงฝาครอบเครื่องด้านหน้าออกก่อน จากนั้นจึงคลายสกรูยึดฝาครอบเครื่องจากด้านหน้า

หากคุณเลือกซื้อเคสรุ่นใหม่ ซึ่งมีราคาสูงกว่าเคสรุ่นเก่า วิธีการถอดฝาครอบ เครื่องออกอาจแตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเคสพยายามออก แบบให้เคสรุ่นใหม่ ๆ เป็นแบบ "ไม่มีสกรู" สำหรับเคสที่มีการออกแบบเช่นนี้ คุณเพียงจับด้านล่างของเคสส่วนหน้าแล้วดึงออก ส่วนหน้าของเคส ก็จะ หลุดออกอย่างง่ายดาย โดยอาจต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยและแรงดึง
เล็กน้อย เคสแบบนี้จะมีความทนทานมาก จากนั้นฝาปิดด้านข้างก็จะหลุดออก คุณเพียงยกฝาปิดด้านบนออก จากนั้นเคสของคุณก็จะแยกเป็นสี่ส่วนหรือ สำหรับเคสอีกประเภทหลังจากคุณดึงด้านหน้าออก ฝาปิดด้านบนและ ด้านข้างก็จะหลุดออกพร้อม ๆ กัน

เคสแต่ละแบบอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในการปลดฝาครอบเคสออก โดยจะแตกต่างไปตามการออกแบบของบริษัทต่าง ๆ

เพียงเท่านี้ คุณก็พร้อมที่จะทำงานในขั้นตอนถัดไปแล้ว



วิธีการประกอบ ขั้นตอนที่ 3 : การเตรียมเคส

ขณะนี้ คุณควรมีเคสใหม่ที่ถอดฝาครอบเครื่องออกแล้ว อยู่เบื้องหน้าคุณ ก่อนที่คุณจะนำเคสนี้ไปใช้งาน คุณต้องเตรียมเคสนี้เสียก่อน โดยให้ทำการ ตรวจสอบตามลำดับต่อไปนี้

หลังจากได้เปิดฝาครอบเครื่องออกแล้ว ให้คุณหาสกรูของเคสซึ่งมัก จะอยู่ในถุงพลาสติกด้านในเครื่อง โดยภายในถุงพลาสติกนี้จะประกอบด้วย:

- สกรูสำหรับโครงเครื่อง - สำหรับใช้ยึดการ์ดต่าง ๆ เป็นต้น
- สกรูขนาดเล็ก - รูปร่างเหมือนสกรูสำหรับโครงเครื่อง แต่มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางเล็กกว่า ใช้สำหรับยึดเมนบอร์ด
- หมุดยึดบอร์ด (Standoffs) - เป็นสกรูสำหรับยึดเมนบอร์ด มีขนาด ประมาณ 1/8" เหนือจากจุดยึดเมนบอร์ด โดยที่ปลายด้านบนจะมีช่องเปิด สำหรับใส่สกรูขนาดเล็ก หากคุณใช้เคสแบบ AT คุณจะได้รับหมุดยึด บอร์ดพลาสติกขนาดเล็กสีขาว ซึ่งทำงานเหมือนหมุดโลหะทุกประการ ใช้สำหรับยึดกับสล็อตบนบอร์ดโดยตรง
- แหวนรองสกรู

ทำความสะอาดเคส
ในกรณีที่คุณซื้อเคสใหม่มา การทำงานขั้นตอนนี้อาจไม่มีความจำเป็นมากนัก
แต่หาก คุณนำเคสเก่ามาใช้ การทำความสะอาดจะมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทำความ สะอาด ภายในด้วยผ้าขี้ริ้วและสเปร์ยอัดความดัน ให้ทำความ สะอาดพัดลมของหม้อ แปลงจนปราศจากฝุ่นโดยให้ทำความสะอาดบริเวณ ตะแกรงกรองอากาศด้วย

ตรวจสอบหม้อแปลง
ให้ตรวจดูว่าหม้อแปลงยึดกับเคสอย่างแน่นหนา และไม่มีฝุ่นละออง รวมทั้ง ตรวจสอบว่ามีการปรับตั้งแรงดันไฟฟ้าตามประเทศของคุณอย่างถูกต้องแล้ว กล่าวคือ 110 โวลต์ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาและ 220 โวลต์ สำหรับ ประเทศอื่น ๆ และไทย

ติดตั้งขาตั้งเคส
เป็นแท็บเล็ก ๆ สำหรับสอดลงในช่องเปิดเล็ก ๆ ด้านล่างเคส โดยที่เคสจะวางอยู่ บนขาตั้งเหล่านี้ แต่ในกรณีที่เคสนี้ผ่านการใช้งานมาแล้วหรือมีราคาสูงกว่ามาก เรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นแต่อย่างใด

ติดตั้งพัดลมของเคส
ในบางกรณีคุณอาจต้องการติดตั้งพัดลมบนแร็คถัดจากช่องระบายอากาศของ
เคส ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มการหมุนเวียนและการระบายอากาศของระบบได้ ให้ตรวจ สอบว่าพัดลมจะดูดอากาศเข้าสู่เคส ไม่ใช่นำอากาศออกจากเครื่อง เคสบางรุ่นจะมี การติดตั้งพัดลมนี้มาแล้ว ซึ่งหากมีการติดตั้งให้แล้ว ก็เป็นอันหมดหน้าที่สำหรับ ส่วนนี้ครับ

กำหนดคอนฟิกของไฟ LED
ไฟแสดงสถานะ LED ของเคสทำงานอิสระจากความเร็วในการ ทำงานของ ระบบ โดยคุณสามารถกำหนดคอนฟิกได้ในตอนนี้เลย โดยใช้จัมเปอร์ด้าน
หลัง LED คุณต้องใช้คู่มือที่ให้มากับเคส หรืออาจตรวจสอบ ข้อมูลนี้ใน บทความของ Peter Doherty

ติดตั้งการ์ดป้องกันสล็อต
ขึ้นกับคุณว่าคุณต้องการติดตั้งการ์ดนี้ ในตอนนี้หรือหลังจาก
ได้ติดตั้งการ์ดเอ็กซ์แพนชันทั้งหมดแล้ว

ถอดฝาปิดช่องใส่ไดรฟ์ออก
คุณอาจทำเรื่องนี้ในภายหลัง ได้ อย่างไรก็ตามคุณต้องถอดฝาปิดด้านหน้า
เครื่องออกก่อนที่จะติดตั้งไดรฟ์ต่าง ๆ ได้



โดย : นาง พวงเพ็ชร์ ศรีสุข, โรงเรียนวังชิ้นวิทยา, วันที่ 20 มีนาคม 2545