พิมพ์ดีดไทย


นั่งพิมพ์อย่างไรไม่ให้เมื่อย
ในการนั่งพิมพ์ดีด จะทำอย่างไร จึงจะไม่เมื่อยล้าและสามารถพิมพ์ได้นาน ๆ
เพราะการพิมพ์คุณจะต้องใช้ความอดทน เพื่อให้งานของคุณสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยคุณไม่รู้สึกปวดเมื่อยล้าแต่อย่างไร
การนั่งพิมพ์ให้ถูกวิธีมีดังนี้ เพียงคุณปฏิบัติตามดังกล่าว คุณก็สามารถนั่งพิมพ์
งานของคุณได้ทั้งวันเลยนะคะ
1.อย่านั่งหลังงอและนั่งไขว่ห้าง เพราะจะทำให้คุณปวดหลัง ปวดเอว ลักษณะ
การนั่งควรนั่ง ดังนี้
1.1นั่งตัวตรงและแอนลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย โดยลำตัวอยู่ห่างขอบโต๊ะ
พอประมาณ หรือตามความเหมาะสมหรือสักประมาณ 1 คืบ ลักษณะการวางเท้า ให้เท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้นโดยให้เท้าใดเท้าหนึ่งวางเหลื่อมกันเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ข้างลำตัวพอเหมาะคอตั้งตรง ศรีษะหันไปทางขวาเล็กเพื่ออ่านต้นฉบับ ส่วนโต๊ะที่ใช้ในการวางเครื่องพิมพ์ดีด ควรใช้โต๊ะที่มีความสูงพอเหมาะกับร่างกายของผู้พิมพ์และเก้าอี้ควรมีความสูงพอเหมาะกับโต๊ะและร่างกายของผู้พิมพ์



1.2ลักษณะของมือทั้งสองลาดต่ำลงขนานกับแป้นอักษรให้เป็นเส้นตรง
กับช่วงแขน นิ้วมืองอ ซึ่งการงอนิ้วที่ถูกแบบดังภาพ มีข้อควรระวังคือ ห้ามมิให้ข้อมือทั้งสองโดนขอบเครื่องพิมพ์ดีด หรือขอบโต๊ะโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ยากแก่การก้าวนิ้ว และหากคุณไว้เล็บ คุณควรตัดให้สั้น เพื่อสะดวกในการเคาะแป้นอักษรและไม่เป็นอุปสรรคในการก้าวนิ้วหรือการพิมพ์ของคุณ
2.ตามองที่แบบพิมพ์เท่านั้น เนื่องจากคุณจะได้ไม่ต้องปวดหัวหรือตาลาย
และเป็นการแก้ปัญหาไม่ให้คุณพิมพ์ข้ามหรือพิมพ์ตก







โดย : นาง สุชาดา มุขสมบัติ, โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร, วันที่ 4 เมษายน 2545