เทคโนโลยีสื่อดาบสองคม

บทคัดย่อ

เมื่อพูดถึง “ สื่อ “ ในแง่ที่เป็นสิ่งซึ่งสามารถสื่อความหมายได้ เราจะพบความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีหรือคำขยายทำนอง “ ไฮเทค “ ( High technology ) และ “ ดิจิตอล “ ( Digital )
ซึ่งซึมซับเข้าสู่วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน จะพบว่ามีสิ่งที่ขึ้นต้นด้วยคำ “ อิเลคทรอนิค” หรือ”E”เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พาณิชย์อิเลคทรอนิค ( E - Commerce ) และอื่นๆอีกมากไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเงินการธนาคาร,บันเทิง จับจ่ายใช้สอย ศิลปวัฒนธรรม,ความเชื่อศาสนา,การเมืองการปกครอง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงจุดอิ่มตัวและความสับสนของสังคมวัตถุนิยม
ทุกวันนี้ผู้คนทั่วโลกต่างยอมรับในความวิเศษของเทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดและอุปสรรคทางพรมแดนและเวลาทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายใต้กลไกของระบบตลาดทุนนิยมเสรี สังคมไทยยังคงบริโภคเทคโนโลยีสื่อในลักษณะ “ลอกเลียนแบบ” หรือใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ร่ำรวย , มีการศึกษาเพราะใช้ net จนกลายเป็นแฟชั่น จนกลายเป็นการสั่งสมวัฒนธรรมบริโภคนิยมวัตถุ ซึ่งเป็นการบริโภคเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นการใช้งานอย่างเต็มศักยภาพของเทคโนโลยีหรืออาจกล่าวได้ว่าเราตกเป็นเครื่องมือของเทคโนโลยีมนการทำธุรกิจมากกว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสื่อสาร เพราะความที่ทคโนโลยีสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีที่มาจากโลกตะวันตก เราจึงหลีกเลี่ยงจากการถูกครอบงำทางความคิดที่มาในรูปสื่อไม่ได้ ท้ายที่กำลังตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมหรือทาสทางปัญญาแก่ชาติตะวันตก
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญ ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงและเราจะต้องอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีนั้นๆอย่างมีดุลยภาพ ( รู้เท่าทัน ) โลกของสื่อและเทคโนโลยีสื่อ รวมถึงการไม่พึ่งพามากจนเกินไป กลายเป็นเสพติดสื่อ ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี หรือตัดขาดจากโลกแห่งความเป็นจริง เราควรจะตระหนักถึงปัญหาและเข้าใจในสถานการณ์ที่สังคมไทยยังอยู่ในสภาพขาดความพร้อมต่อเรื่องนี้ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความมีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตลอดจนระบบการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ที่มา : วีวัฒน์ อำพันสุข , วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ ( พฤศจิกานยน 43 - กุมภาพันธ์ 44 )


โดย : นางสาว สุนิสา ทิพยโกศัย, โครงการตรวจคนงานไปต่างประเทศ ร.พ.รามาธิบดี, วันที่ 28 เมษายน 2545