บาร์โค๊ด

เดี๋ยวนี้ตามห้างสรรพสินค้าต่างมักจะมีการติดรหัสของสินค้าหรือที่เราเรียกกันว่า บาร์โค๊ด(Barcode) และจะมีราคาของสินค้าชนิดนั้นติดไว้ที่ชั้นวางของ และจะวางสินค้าให้ตรงกับบาร์โค๊ดเพื่อจะได้ตรวจดูราคาสินค้าว่าตรงหรือไม่ แต่ในใบเสร็จรับเงินที่ได้จากพนักงานเก็บเงิน หรือแคชเชียร์ (Cashier) บางแห่งรหัสของสินค้าก็จะไม่ตรงกับรหัสที่ติดอยู่กับตัวของสินค้าแต่ราคาจะตรงกัน
คนส่วนมากเมื่อเลือกสินค้าและตรวจราคาแล้วว่าตรงกับรหัสสินค้าที่ติดไว้ก็มั่นใจว่าจะได้สินค้าในราคาที่ถูกต้องตามที่ตรวจมา แต่ ….ในบางครั้งในห้างสรรพสินค้านั้นจะมีการเปลี่ยนราคาสินค้าไปเรื่อย ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า โดยมีการตั้งราคาสินค้าให้มีเศษสตางค์ เช่น 99.25 บาท 99.50 บาท 99.75 บาท เพราะในการตั้งราคาแบบนี้จะเป็นการทำให้ลูกค้าอยากได้สินค้าเพิ่มขึ้นจากหนึ่งชิ้นเป็นสองชิ้นก็ได้เพียงราคาถูกกว่ากัน 0.25 บาทหรือ 25 สตางค์เท่านั้น
ราคาสินค้าในใบเสร็จก็จะเต็มไปด้วยเศษสตางค์ที่มีต่อท้ายแทบทุกรายการ จึงทำให้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะสนใจที่จะตรวจสอบราคาสินค้าและไม่อยากที่จะไปปวดหัวกับเศษสตางค์ว่าตรงหรือไม่และส่วนใหญ่ก็จะจำไม่ค่อยได้
แต่…ก็ยังมีบางคนที่มีความละเอียดรอบคอบและมีความจำดี โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ ด้วยเงินที่คิดเกินมาแค่ 25 สตางค์ที่คิดไม่ตรงกับราคาสินค้าที่ตรวจสอบมาแล้วจากชั้นวางสินค้า เธอไปขอเงินคืนจากเคาน์เตอร์ของห้างแห่งนั้น
25 สตางค์อาจไม่มีความหมายกับใครเลย (ขอทานเดี๋ยวนี้ไม่รับเศษสตางค์แล้ว) แต่สิ่งที่เธอคนนั้นทำก็เพื่อความถูกต้อง ความละเอียดรอบคอบที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนั้นและในอีกหลาย ๆ สาขาของห้างสรรพสินค้าแห่งนั้นจะต้องนำไปปรับปรุงต่อไป



โดย : นางสาว sontaya padungsat, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545