ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล

บทคัดย่อ
ISBN เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน NISO Standard ที่ NISO/ANSI/ISO 2108 : 1992(ISO1) ตัวเลขนี้มีความยาวจำนวน 10 หลัก ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1. รหัสประเทศ (Country code) หรือการใช้ภาษาท้องถิ่นนั้น ๆ หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2. รหัสสำนักพิมพ์ (publisher code) 3. รหัสชื่อเรื่อง (title code) 4. ตัวเลขตรวจสอบ (check digit) การแบ่งแต่ละส่วนได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย - (hyphen) เพื่อง่ายต่อการจดจำ
ISBN ได้เข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในเรื่องการสร้างฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์ หรือ MARC Fomat รูปแบบการลงรายการนี้ได้รับการพัฒนาจาก Library of Congress ให้ใช้เป็นเทคนิคในการอ่านข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนสนับสนุนระบบชื่อหน่วยงานหรือสำนักพิมพ์ Vendors ของห้องสมุด โดยทั่วไป MARC Format ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการบันทึกข้อมูลของ MARC เป็นการบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ เช่น แผ่นดิสเก็ต ซีดีรอม นอกจากนั้นยังเป็นการส่งผ่านระหว่างการโอนแฟ้มข้อมูลไปยังรูปแบบอื่น ๆ ที่มีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
พัฒนาการบนโลกดิจิตอลของ ISBN จึงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันกงล้อแห่งการสื่อสารข้อมูล ในรูปแบบของบรรณานุกรมและอื่น ๆ ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นจะพัฒนาจากข้อมูลห้องสมุดด้านการวิจัย ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดเฉพาะ ISBN จึงทำหน้าที่เป็นกงล้อแห่งการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งต่อข้อมูลจากสำนักพิมพ์ร้านค้า ไปสู่งานห้องสมุด งานด้านธุรกิจการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และงานด้านวิชาการ การเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิตอลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเป็นส่วนช่วยให้การส่งต่อข้อมูลในทศวรรษหน้าให้ประสบความสำเร็จ ISBN จึงเป็นตัวเลขแสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของข้อมูลบนโลกดิจิตอลต่อไปในอนาคต
ที่มา : ปัมาภรณ์ ธรรมทัต, ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล, (N.L.T. Newsletler) ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2544 หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ


โดย : คุณ กมลศรี ฤกษ์สมุทร, , วันที่ 28 เมษายน 2545