เริ่มเรียนการถ่ายภาพ6


กระบวนการดาร์แกโรไทพ์
จาก คาเมรา ออบสคูรา ที่ต้องพึ่งพาจิตกรลอกแบบภาพเหมือนที่เกิดขึ้น และเพราะทุกคนไม่ใช่จิตกรผู้มีความสามารถเหมือนๆ กัน ภาพที่ได้จึงไม่งดงามอย่างที่ต้องการ ทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้มีการคิดค้นกระบวนการที่จะทำให้ภาพที่มองเห็นจากคาเมรา ออบสคูรานั้นสามารถคงอยู่ในวัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
ในราวปี ค.ศ.1727 โจฮัน เฮนริช ชุล (Johaun Heinrich Schulze) นักเคมี-ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน พบว่า สารผสมของชอล์ก, เงินและกรดไนตริกหรือที่เรียกว่าเกลือเงินสีขาวจะเปลี่ยนสีได้เมื่อถูกแสงสว่างของดวงอาทิตย์



ปี ค.ศ. 1802 โทมัส เวดจ์วูด(Thomas Wedg Wood) พบว่าเงินไตเตรดสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อถูกแสงสว่างเวลากลางวัน โดยเขาได้ทดลองเคลือบเงินไนเตรดลงในกระดาษหรือหนังสัตว์ชนิดอ่อนเมื่อนำวัตถุบางอย่างวางทับ นำไปถูกแสงอาทิตย์ กระดาษหรือหนังสัตว์ส่วนที่วัตถุปิดทับอยู่จะเป็นสีขาว บริเวณที่ไม่ถูกปิดทับจะเป็นสีดำ และนอกวัตถุที่นำมาปิดทับนั้นมีแสงผ่านไปได้บ้างจะกลายเป็นสีเทา แต่หลังจากนั้นไม่นานส่วนของสีขาวหรือสีเทานั้นก็จะมืดดำสนิททั้งแผ่น ซึ่งเขายังไม่สามารถค้นหาวิธีการคงสภาพของภาพที่เกิดขึ้นได้ เพราะได้เสียชีวิตไปก่อน แต่เขาก็ได้ตีพิมพ์ผลงานไว้ในหนังสือ“Journal of Royal Institution”
โจเซฟ เนียฟฟอร์ เนียพ์ (Joseph Nicephore Niepce) ชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่สามารถค้นหาวิธีการคงสภาพภาพถ่ายไว้ในบางอย่างได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1827 เนียฟได้ทำงานร่วมกับน้องชายที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ชื่อ คลูด เนียฟ (Claude Niepce) เขาพบว่าสารบีทูเมน (Bitumen) เมื่อถูกแสงสว่างแล้วนำไปล้างในน้ำมันจากต้นลาเวนเดอร์ (Lavender) จะแข็งตัว แต่ในส่วนไม่ถูกแสงจะละลายออก ต่อมาเขาได้ทดลองใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่ว ฉาบสารบีทูเมนใส่ไว้ในคาเมราออบสคูรา ถ่ายภาพอาคารได้สำเร็จ ภาพดังกล่าวจึงนับเป็นภาพถ่ายโพสิตีฟ ที่ถาวรภาพแรกของโลก เนียฟได้ตั้งชื่อกระบวนการถ่ายภาพนี้ว่าเฮลีโอกราฟฟี (Heliography) และเขายังพบว่ากระบวนการทำภาพขาว-ดำบนแผ่นเอนเกรฟวิ่ง(engraving) ซึ่งฉาบด้วยสารบีทูเมน ต่อมากระบวนการนี้ได้พัฒนาขึ้นมาใช้ในการพิมพ์คือการทำบล็อคแม่พิมพ์บนแผ่นโลหะ หรือที่เรียกว่า Photoengraving technique ซึ่งในเวลาเดียวกันนี้ หลุยส์ จาคเดอร์ แมนเด
ดาร์แก (Louis Jacque Mande Daguerre ค.ศ.1787-1851) ได้ทดลองทำวัสดุไวแสงเพื่อบันทึกภาพเช่นเดียวกับเนียฟ วิธีการของดาร์แกได้สาธิตกระบวนการของดาแกโรไทพ์นี้ให้ประชาชนชมเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ.1839 ซึ่งวัสดุไวแสงที่ดาร์แกใช้คือ แผ่นทองแดงที่ผิวด้านหนึ่งชุบด้วยเงิน ขัดให้มัน จากนั้นจำไปล้างในน้ำยาที่เป็นส่วนผสมของน้ำกลั่นกับกรดไนตริก แล้วนำไปอังด้วยความร้อนโดยให้ด้านที่ชุบเงินหงายขึ้นข้างบน ล้างน้ำยาอีกครั้งแล้วจึงนำไปบรรจุในกล่องที่ไม่ให้ถูกแสงสว่าง เพื่อฉาบไอระเหยจากไอโอดีน เป็นอันเสร็จพิธีการฉาบวัสดุไวแสงลงบนแผ่นโลหะ
ขั้นต่อไปคือการถ่ายภาพลงในแผ่นโลหะที่เคลือบวัสดุไวแสง ซึ่งดาร์แกใช้เวลาถึง15 นาทีจึงเกิดเป็นภาพแฝงขึ้นในแผ่นโลหะที่ยังมองไม่เห็น แล้วจึงนำไปล้างและทำให้แห้งโดยการอังไอปรอท เกิดเป็นภาพขึ้นทีละน้อย ขั้นสุดท้ายคือการล้างน้ำยาคงสภาพที่มีส่วนผสมของน้ำกลั่นและไฮโปที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดเล็กน้อย จึงได้ภาพตามต้องการ
ภายหลังกระบวนการดาร์แกโรไทพ์ ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายมาก แต่ปัญหาที่สำคัญของกระบวนการนี้ก็คือต้องใช้เวลาในการฉายแสงนาน แล้วแต่แสงจะมากหรือน้อยไม่เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคลเพราะคนไม่สามารถอยู่นิ่งได้นานๆ และการถ่ายครั้งหนึ่งๆ จะได้ภาพเพียงภาพเดียวเท่านั้น และภาพที่ได้ก็เป็นภาพที่ถ่ายกลับซ้ายเป็นขวาเหมือนภาพที่เห็นในกระจกเงา แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่ากระบวนการดาร์แกโรไทฟ์นี้ เป็นก้าวย่างสู่การถ่ายภาพในยุคปัจจุบัน ต่อมาได้มีการปรับปรุงกระบวนการดาร์แกโรไทฟ์ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้นหลายประการเช่นการปรับปรุงเลนส์ให้เป็นเลนส์คู่มีความไวแสงสูงกว่าเดิม การทำเพลทใหม่ให้ไวแสงมากขึ้น โดยนำเพลทที่ฉาบด้วยไอโอดีนแล้วไปฉายด้วยโปรมีนอีกครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาในการถ่ายเหลือเพียง1 นาที รวมถึงการย้อมสีภาพเพื่อทำให้สีของภาพคงทนถาวรกว่าเดิม กระบวน
ดาร์แกโรไทฟ์ จึงเป็นที่นิยมมาก ในปี ค.ศ.1848 ได้มีการถ่ายภาพพาโนรามา ภาพแรกของโลกโดยวิลเลียม เอส พอเตอร์(William S. Paotor) และชาร์ล ฟอมเทน (Charles Fontayme) ชาวอเมริกัน ภาพ
พาโนรามาภาพนี้เป็นภาพทิวทัศน์ของเมืองซินซินเนติ ที่อยู่ริมแม่น้ำในรัฐวิสคอนซิส ถ่ายด้วยเพลท 8 แผ่นเรียงติดต่อกันทำให้เห็นภาพเป็นบริเวณกว้างยาวไกลออกไป ซึ่งเป็นลักษณะของภาพพาโนรามาในปัจจุบัน



โดย : นางสาว สมควร เพียรพิทักษ์, กรมวิชาการ, วันที่ 9 พฤษภาคม 2545