การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนสำคัญ ในการแสวงหาความรู้ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและสืบเสาะหาคำตอบจากปัญหาที่ตนประสบด้วยตนเองมากที่สุด ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ตามความถนัด ความสนใจและความสามารถของตน ครูผู้สอนควรอยู่ในฐานะพี่เลี้ยง ช่วยส่งเสริมในการหาแหล่งความรู้ ข้อมูลหรืออุปกรณ์
ที่ผู้เรียนต้องการเพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความล้มเหลวและท้อถอย ครูผู้สอนต้องเป็นกำลังใจในการแสวงหาคำตอบของนักเรียนเพราะการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเด็ก ทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจและจุดประกายการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
รูปแบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มี 3 ประเภท คือ
1. โครงงานการสำรวจ
2. โครงงานการทดลอง
3. โครงงานการประดิษฐ์
โครงงานประเภทการสำรวจ เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอสิ่งที่ต้องการทราบ
โครงงานประเภทการทดลอง เป็นการออกแบบทดลองเพื่อพิสูจน์หาคำตอบที่ถูกต้อง
โครงงานประเภทการประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์เครื่องมือ หรือนวัตกรรมโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
แบบตรวจสอบขั้นตอนการทำโครงงาน
1. เลือกหัวข้อที่สนใจ
2. เขียนคำถามที่สามารถทดสอบได้ด้วยตัวเอง
3. ศึกษาค้นคว้าหัวข้อที่เลือกจากแหล่งความรู้ต่างๆ
4. ตั้งสมมติฐานหรือเดาผลการทดลองอย่างมีเหตุผล
5. เขียนขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
6. เขียนรายการอุปกรณ์ที่ต้องใช้
7. ทำตารางบันทึกผล
8. ดำเนินการทดสอบ/ปฏิบัติการทดลองและบันทึกผล
9. สรุปผล
10. เขียนรายงาน : ปัญหา สมมติฐาน ขั้นตอนการทดลอง และสรุปผล
11. ทำแผ่นแสดงผลงาน ใช้แผนภูมิ กราฟ รูปถ่าย
12. รายงานปากเปล่า



โดย : นาง รัตนา สมวิทูร, ร.ร วัดนาคนิมิตร 8 หมู่ 5 ถ.สุขสวัสดิ์ 8 แขวงจอมทอง จอมทอง กรุงเทพฯ 10150, วันที่ 15 พฤษภาคม 2545