ไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก

การเกิดโรค
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อรุนแรงที่มักเกิดกับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษา โรคนี้เกิดจากยุงลายนำเชื้อไวรัสเดงกี่มาให้ขณะกัดกินเลือด ผู้รับได้เชื้อโรคไข้เลือดออกจะป่วยหลังจากถูกยุงกัด ประมาณ 1 สัปดาห์
อาการ
อาการของโรคไข้เลือดออกมีได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง คือมีอาการซ็อคและอาจเสียชีวิตได้ อาการและอาการแสดงที่สำคัญของโรคไข้เลือดออกพอสรุปได้ดังนี้
1. ไข้
2. เลือดออก
3. ตับโต
4. ช็อค หรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
ผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูง หน้าแดง เบื่ออาหาร เคลื่อนไส้ ปวดท้อง หรือจุกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา หลังจากมีไข้ได้ 2-3 วัน ผู้ป่วยบางรายจะมีจุดเลือดแดงบริเวณแขน ขา และลำตัว อาการไข้อาจเป็นอยู่นาน 2-7 วัน ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการช็อคร่วมด้วย กล่าวคือไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการตัวเย็น กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบาและเร็ว ปัสสวะน้อยลง อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ รายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอยางถูกต้อง ส่วนรายที่มีอาการไม่รุนแรงจะค่อย ๆ ดี ขั้น จนหายเป็นปกติภาย 7-10 วัน
การรักษา
ขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือกออกได้จึงต้องรักษาตามอาการ ซึ่งให้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรก
การรักษามีหลักปฏิบัติดังนี้
1. ระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติการชัก หรือในรายที่ปวดศรีษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรให้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งเป็นคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น
2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผุ้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือแร่ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มน้ำครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
3. จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา การช็อคมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลด มักเกิดประมาณวันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้ผู้ปกครองทราบอาการนำของการ ช็อค ซึ่งอาจจะมีอากาเบื่ออาหารติดต่อกันหลายวันหรือมีอาการปัสสวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ควรแนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้
4. เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจดูปริมาณเกล็ดเลือด และฮีมาโตคริต และอาจนัดมาตรวจการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือและฮีมาโตริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลงและฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจช็อคได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

5. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยัง
มีไข้สามารถรักษาผู้ป่วยแบบผู้ป่ายแบบผู้ป่วยนอกโดยให้ยาไปรับประทานที่บ้าน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการ หรือ แสดงอาการช็อค อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มากก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา
การป้องกัน
1. นอนในมุ้ง
2. อย่าอยู่ในบริเวณที่มืดหรืออับลมที่มียุงลายหลบซ่อนอยู่
3. ใช้ยากันยุง
4. กำจัดลูกน้ำและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งที่บ้านและโรงเรียน

จากหนังสือคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข








โดย : นาย ชลิต ไตรบุตร, ร.ร สุเหร่าบ้านดอน 84 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110, วันที่ 17 พฤษภาคม 2545