ดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์

บทนำ

ดาวเคราะห์เป็นดาวที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับโลก ดาวเคราะห์จึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ ซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร บริวารของดวงอาทิตย์ คือสิ่งทั้งหลายที่เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์
ได้แก่ ดวงเคราะห์ 9 ดวง บริวารของดาวเคราะห์มากกว่า 60 ดวง ดาวเคราะห์น้อยจำนวนหลายหมื่นดวง ดาวหางจำนวนเป็นล้าน และวัตถุขนาดเล็กจำนวนมาก แต่เมื่อมองจากโลกด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวในระบบสุริยะเพียง 7 ดวงเท่านั้น ดาวเหล่านี้ คือ ดาวที่นำมาตั้งเป็นชื่อวันต่าง ๆ ในสัปดาห์ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นดาววันเกิด ดาวแต่ละดวงมีความสว่างโชติช่วง โดย เฉพาะดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ทีทุกคนรู้จักดี เมื่ออยู่บนฟ้าจะสว่าง มีแสงจ้ามากจนกลบแสงดาวอื่น ๆ ทั้งหมด ดวงอาทิตย์จึงเป็นดาวที่ปรากฏสว่างที่สดบนฟ้าของโลก รองลงไปคือ ดวงจันทร์
ซึ่งปรากฏมีขนาดโตและเปลี่ยนรูปร่างทุก ๆ วัน วันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆบังจะเห็นดวงจันทร์ลอยเด่นบนจากดวงจันทร์ ปรากฏเป็นดาวที่สว่างที่สุดในเวลากลางคืน แต่จะเห็นเฉพาะเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หรือเช้ามืด ทางทิศตะวันออกเท่านั้น ดาวพฤหัสบดี ปรากฏแสงสว่างรองจากดาวศุกร์แต่ยังสว่างกว่าดาวที่เหลือ ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพุธ ซึ่งสว่างรองลงไป ยกเว้นทุกช่วง 15-17 ปี ดาวอังคารจะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี โดยทั่วไปเมื่ออยู่ไกลจากโลกจึงพบว่าดาวอังคารริบหรี่กว่าดาวเสาร์ ส่วนดาวพุธสว่างกว่าดาวอังคารและดาวเสาร์ แต่ปรากฏอยู่ในแสงพลบค่ำหรือแสงรุ่งอรุณ จึงมักจะพลาดสายตาอยู่บ่อย ๆ
ดาววันเกิดเป็นดาวที่เรารู้จัก จนสามารถชี้บอกได้ว่าอยู่ที่ใดบนท้องฟ้า มีหลักเกณฑ์หรือข้อสังเกตอย่างไรบ้าง จึงจะบอกได้ว่าดวงใดเป็นดาวเคราะห์ เราจะเข้าใจและรู้จักดาวเคราะห์ดีขึ้นได้อย่างไร ดาวเคราะห์มาเรียงเป็นแถวยาวประดุจสร้อยเพชร หรือชุมนุมเป็นกลุ่มใหญ่ได้อย่างไร ทำไมจึงเรียกว่า ดาวเคราะห์ ชื่อดาวเคราะห์แต่ละดวงมีความเป็นมาอย่างไร ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อโลกอย่างไรหรือไม่ พบคำตอบของ คำถามเหล่านี้ได้ใน ดาวเคราะห์ชุมนุม

ทำไมจึงเรียกว่าดาวเคราะห์

เคราะห์ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำที่มาจาก ภาษาสันสกฤตว่า ค ร. ห. ซึ่งเขียนเป็นอักษรโรมันว่า GRAHA
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2525 แปลว่าเคราะห์ ดังนี้ “…สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย มักนิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์” ดาวเคระห์จึงเป็นดาวที่มนุษย์สมัยก่อนเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตตนทำให้เกิดสิ่งที่ร้ายหรือสิ่งที่ดีต่อตนเองได้ สาเหตุที่มนุษย์โบราณเชื่อ เช่นนั้นเพราะพวกเขาคิดว่า ฟ้าคือสวรรค์และดวงดาวทั้งหลายคือเทวดาหรือเทพเจ้า หรือเทพธิดาที่อยู่บนสวรรค์
ดาวเคราะห์เป็นเทวดาที่อยู่ใกล้โลก ส่วนดาวอื่น ๆ เป็นเทวดาที่อยู่ไกล ดาวที่อยู่ใกล้โลกมีอิทธิพลมากกว่าดาวที่อยู่ไกล โดยพวกที่อยู่ใกล้โลกเป็นดาวเคราะห์ และพวกที่อยู่ไกลโลกเป็นดาวฤกษ์หรือดาวประจำที่
คนไทยรับวัฒนธรรมเรื่องความเชื่อและชื่อดาวมากจากอินเดีย ดังนั้นชื่อดาวเคราะห์จึงมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤตทั้งสิ้น ปัจจุบันชื่อเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคนไทย เป็นคำไทยที่ทุกคนรู้จัก

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า ดาวเคราะห์ ในภาษาละติน ซึ่งเป็นรากเหง้าของภาษาอังกฤษ กล่าวคือพวกกรีก และโรมันโบราณ เรียกดาวเคราะห์เป็นภาษาละตินว่า PLANET ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ คือ WANDERER แปลว่า ผู้ท่องเที่ยวไป หรือผู้พเนจร เป็นไปตามลักษณะที่สังเกตได้จากโลกคือ ดาวที่อยู่ใกล้ ๆ โลกเหล่านี้เปลี่ยนตำแหน่งอยู่เสมอเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์หรือดาวที่อยู่ไกล ๆ คำว่า PLANET หรือดาวพเนจรจึงเป็นคำที่ตรงตามลักษณะที่เราสังเกตเห็น

จากหนังสือ ดาวเคราะห์ชุมนุม เขียนโดย นิพนธ์ ทรายเพชร : นามีบุ๊คส์




โดย : นางสาว นุชจรี ทัพเพรียง, ร.ร สุเหร่าบ้านดอน 84 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110, วันที่ 17 พฤษภาคม 2545