แหล่งธรรมชาติควรอนุรักษ์


ลานหินปุ่ม – ลานหินแตก LAN HIN PUM - LAN HIN TAG
ชื่อแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์
ลานหินปุ่ม – ลานหินแตก / LAN HIN PUM - LAN HIN TAG / PHITSANULOK
สถานที่ตั้ง
บ้านภูหินร่องกล้า ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
( อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ )
ประเภท ภูเขา
ความสำคัญ
ลานหินแตกได้ชื่อว่าเป็น “ ลานเลือด “ เมื่อครั้งเกิดยุทธการภูขวาง เมื่อ พ. ศ. 2515
พื้นที่นี้เป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและพคท.
การเข้าถึง
ทางหลวงหมายเลข 203 ไปบ้านนาแซงเลี้ยวเข้าทางหลวง 2331 ไปอีกประมาณ 46 กิโลเมตร
ถึงฐานพัชรินทร์ แล้วเดินเท้าต่ออีกประมาณ 200 เมตร ถึงลานหินแตก และต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตรถึงลานหินปุ่ม
สภาพปัจจุบัน
ลานหินปุ่ม อยู่ริมหน้าผาเป็นลานหินขนาดใหญ่ มีลักษณะก้อนหินปุ่มปมเล็กใหญ่สูงต่ำสลับกัน ซึ่งเกิดจากโครงสร้างของหินที่สึกกร่อนตามธรรมชาติอยู่ห่างจากผาชูธงประมาณ 500 เมตร ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จะมีดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง
ลานหินแตก ลักษณะเป็นลานหินที่มีอาณาบริเวณประมาณ 40 ไร่ ลานหินมีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอคนก้าวข้ามได้ แต่บางรอยก็กว้างจนคนไม่สามารถจะกระโดดข้ามไปถึง สำหรับความลึกของร่องหินแตกนั้นไม่สามารถจะคาดคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัว หรือเคลื่อนตัวของผิวโลก
จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกออกเป็นแนว นอกจากนี้บริเวณลานหินแตกยังปกคลุมไปด้วย มอส
ไลเคน ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
สภาพปัญหา
ขาดการดูแลรักษาความสะอาดและการเหยียบย่ำทำลายธรรมชาติ
องค์กรรับผิดชอบ
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ส่วนอุทยานแห่งชาติทางบกสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ อยู่ในเขตพื้นที่ อบต. เนินเพิ่ม

ที่มาหนังสือแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ของภาคเหนือ
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม



โดย : นางสาว มนตรา เจียมกลิ่น, เทศบาลท่าอิฐ, วันที่ 3 มิถุนายน 2545