วัสดุท้องถิ่น


ไม้ไผ่

ไม้ไผ่ตามหลักวิชาพฤกษศาสตร์นั้น จัดเป็นพืชตระกูลหญ้า มักขึ้นในที่ระบายน้ำดี เช่น
ตามลาดเขา เป็นต้น ลักษณะของไม้ไผ่จะขึ้นรวมกันเป็นกอ ขึ้นชิดติดกัน มีเหง้าอยู่ใต้ดิน และส่งสูงขึ้นเป็นปล้องขึ้นไปในอากาศ มีตั้งแต่ขนาดเล็กขึ้นไปจนถึงขนาดใหญ่ และกล่าวได้ว่าเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลหญ้า แต่ก็มีไม้ไผ่บางชนิดที่ไม่ขึ้นเป็นกอ ทั้งนี้ เพราะหน่อใต้ดินแทงขึ้นออกไปงอกขึ้นห่างๆ กัน และบางทีก็มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน และเกาะเกี่ยวกันขึ้นไปกับพุ่มไม้หรือต้นไม้อื่นๆ บางชนิดก็มีหนามหนา บางชนิดก็เกลี้ยงเกลา บางชนิดก็มีขนเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์
ในประเทศไทยมีไม้ไผ่อยู่ไม่น้อยกว่า 50 ชนิด ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ ตั้งแต่ริมลำธาร เทือกเขาสูง เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ตง ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รอก ไผ่เลี้ยง ไผ่ลำมะลอก ไผ่หัวหลามเป็นต้น ไม้ไผ่แต่ละชนิดนำมาใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน ไม้ไผ่ที่ควรรู้จัก มีดังนี้
1. ไผ่สีสุก
ไผ่สีสุก (ทางจังหวัดอุบลราชธานีจะเรียกไผ่ใหญ่หรือไผ่บ้าน)ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีลำสูงใหญ่หน้าหนา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 7 – 10 เซนติเมตรปล้องยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จำนวนปล้องประมาณ 50 ปล้อง อยู่รวมกันเป็นกอๆ แน่นหนามาก มีกิ่งข้อคล้ายหนาม ลำต้นตรง สีเขียวสด โคนต้นสีเขียวอมเทา หน่อมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาล
หนักประมาณ 3 – 5 กิโลกรัม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นได้ดีในดินเหนียวปนทราย หรือดินร่วนในพื้นที่ราบต่ำแม่น้ำ ลำคลอง ปลูกง่าย จะพบว่าปลูกอยู่ทั่วๆ ไปในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
ประโยชน์
ลำต้น ทำเป็นเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่น การนำมาจักเป็นเส้นตอก นำมาสาน
เป็นกระบุง กระติบ หวด นอกจากนี้เอามาใช้ในการก่อสร้างส่วนต่างๆ ของบ้านเรือน ซึ่งมีแหล่งผลิตดังนี้
1. การสานหวด เป็นภาชนะสำหรับนึ่งข้าวเหนียว ของหมู่บ้านไหล่ทุ่ง ตำบลไหล่ทุ่ง
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี 1
2. การสานกระจาด ตะกร้า และทำเครื่องมือดักจับปลา เช่น ไซ สุ่ม ของหมู่บ้าน
กุดชุม ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2 หน่อ ใช้ประกอบอาหาร




2. ไผ่ตง
ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีลำใหญ่ ไม่มีหนาม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 12 เซนติเมตร
ลำมีสีเทาปนสลับกันเป็นลาย เฉพาะทางส่วนโคนลำ มีขนเล็กๆ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามลำหลังใบ และกาบใบ ไผ่ตงมีหลายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงใหญ่ ไผ่ตงกลาง ไผ่ตงแอ่น เป็นต้น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นได้ดีในดินปนทราย หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี
ปลูกกันมากในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประโยชน์
ลำต้น ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ใช้เป็นเสาบ้าน และนำมาจักเป็นตอก สานเป็น
ของใช้ต่างๆ เช่น การสานข้อง หวด กระติบ กระบุง ใบอ่อน ใช้ห่อขนม ทำหมวก ใช้ผสมทำปุ๋ย หน่อ ใช้ประกอบอาหาร ทั้งหน่อสด หรือนำไปแปรรูปเพื่อเก็บไว้รับประทานได้ นานๆ เช่น ทำหน่อไม้ดอง หน่อไม้ตากแห้ง

3. ไผ่เหลือง
ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีลำต้นใหญ่ สีเหลือง มีแถบสีเขียวตามยาวของปล้องเป็นริ้ว
ผิวเกลี้ยง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 7 – 12 เซนติเมตร ปล้องระหว่างข้อยาวประมาณ20 - 25 เซนติเมตร ความสูงของพุ่มโตเต็มที่ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้อย่าง
รวดเร็ว ส่วนใหญ่จะนำมาปลูกตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ ตามวัด และโรงเรียน เพื่อเป็นไม้ประดับ เพราะสีเหลืองของลำต้นแปลกกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ

ประโยชน์
ลำต้น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำแจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ หน่อ ใช้ประกอบอาหาร แต่ไม่นิยมกันมากนัก กาบไผ่ กาบไผ่จะมีลักษณะบาง ขาว ใช้ทำงานประดิษฐ์ได้

4. ไผ่บง
ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นกอ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 - 18 เซนติเมตร
ปล้องยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีใบเล็กสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะพบขึ้นตามป่าดิบ และบริเวณริมน้ำทั่วๆ ไป ชอบอากาศชื้น พบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประโยชน์ ลำต้น ใช้ทำรั้วบ้าน ทำเสื่อรำแพน ทำเยื่อกระดาษหน่อ ใช้ประกอบอาหาร
5. ไผ่เลี้ยง
ลักษณะ เป็นไผ่ที่มีลำต้นเล็ก สีเขียวสด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2 – 3 เซนติเมตร
ปล้องยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร จำนวนปล้องมีประมาณ 30 ปล้อง ใบเรียวยาวขนาดประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร กาบหุ้มลำบางมาก และหลุดร่วงง่าย มีสีน้ำตาลอ่อน ไผ่เลี้ยงขึ้นเป็นกอไม่แน่นทึบไม่มีหนาม รูปทรงสวยงามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศค่อนข้างชื้น นิยมปลูกกันมากในภาคกลาง ส่วนใหญ่ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีรูปทรงสวยงาม สะอาดตา

ประโยชน์
ลำต้น ทำไม้ถ่อค้ำเรือ ทำคันเบ็ด ทำชิ้นส่วนประกอบเฟอร์นิเจอร์




ประโยชน์ของไม้ไผ่ ประโยชน์ของไม้ไผ่แบ่งได้ 2 ด้าน ดังนี้
1. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น
ซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก
2. ประโยชน์ในด้านการใช้สอย เราสามารถนำไม้ไผ่มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ดังนี้
2.1 ทำเครื่องเรือนหรือเครื่องเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง แคร่ ฯลฯ
2.2 ทำภาชนะหรือของใช้ต่างๆ เช่น กระจาด กระติบ หวด ไซ สุ่มไก่
2.3 ทำเครื่องประดับตกแต่ง โดยนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อตกแต่งสถานที่ หรือ
นำกาบไผ่เหลือง ไผ่เลี้ยง ซึ่งจะมีลักษณะกาบบาง และขาวสะอาด มาทำเป็นภาพตกแต่งฝาผนัง เป็นต้น
2.4 ทำของเล่น ผลิตภัณฑ์ของเล่นที่ทำจากไม้ไผ่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ เช่น ม้าโยก รถเข็น ล้อเลื่อน ฯลฯ
2.5 ใช้ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะในชนบทนิยมใช้ไม้ไผ่มาปลูกสร้างบ้านเรือน ใช้ทำรั้วบ้าน ฝาบ้าน หลังคา ฯลฯ



โดย : นาง เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 16 มกราคม 2545