วัสดุท้องถิ่น


กล้วย
กล้วยเป็นไม้ประเภทล้มลุก ลำต้นเป็นกาบสูง 1 – 6 เมตร กล้วยเป็นพืชเมืองร้อน
มีหลายชนิด แต่มีชื่อเสียงในประเทศไทยเรา ก็คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง กล้วยจะปลูกกันแทบทุกบ้าน และทุกหมู่บ้าน เพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย บำรุงรักษาง่าย และนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน




ประโยชน์
1. ผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบ
ทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาลรับประทานผลกล้วยสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร หรือผู้ที่มีอุจจาระแข็ง วิธีทำ ใช้กล้วยสุก 2 – 3 ผล ปิ้งทั้งเปลือก (อย่าให้เปลือกไหม้)
2. หัวปลี รับประทานแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด
3. หยวก ใช้เป็นอาหารของคนและหมู
4. ใบกล้วย หรือใบตอง มีขี้ผึ้งใช้รองเตารีดเพื่อลดความร้อน และขี้ผึ้งจะเคลือบพื้น
เตารีด หรือนำมาประดิษฐ์เป็นงานศิลปะได้มากมาย เช่น กระทงดอกไม้ บายศรี กระทงลอยกระทงขนม เป็นต้น ใบตองแห้งนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ ตุ้มหู โบแต่งผม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาฟั่นเกลียวเพื่อประดิษฐ์เป็นตลับรูปทรงต่างๆ และนำมาประดิษฐ์เป็นหมวก กระเป๋าได้อีกด้วย ซึ่งเป็นงานผลิตภัณฑ์ที่มีความประณีตและมีคุณค่า
5. ก้านใบ นำก้านใบที่แห้งอยู่กับลำต้น มาเฉือนบางๆ ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ หรือนำ
ก้านกล้วยสดประดิษฐ์เป็นของเล่นเด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วยไว้เล่นก็ได้
6. กาบกล้วย นำมาตากแห้งเป็นเชือกกล้วย หรือปอกล้วย สามารถนำมาดัดแปลงทำของใช้ได้หลายอย่าง เช่น กระเป๋าถือสตรี ที่ใส่ผลไม้ ที่รองจานและอื่นๆ
7. เหง้ากล้วย หรือหน่อกล้วย ให้ทำเป็นอาหารสัตว์
8. เม็ดกล้วย กล้วยบางชนิดเม็ดใหญ่ บางประเทศใช้ทำสร้อยคอและเครื่องประดับ
9. ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยดลงที่บริเวณแผล
10. ลำต้น ใช้เป็นทุ่นสำหรับคนหัดว่ายน้ำ หรือทำเป็นตัวโครงกระทงลอยดอกไม้สด
11. เปลือกกล้วย เปลือกกล้วยบางชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า นำมาต้มจิ้มรับประทานกับ
น้ำพริก ยางเปลือกกล้วยหอมนำมาทามือ แก้โรคผิวหนัง








โดย : นาง เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 16 มกราคม 2545