วัสดุท้องถิ่น


6. ผักตบชวา
ผักตบชวา จัดเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งที่ควรทำลาย เพราะขึ้นอยู่ตามลำน้ำทั่วไป น้ำนิ่งก็ขึ้น
อยู่ได้ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ออกดอกเป็นสีม่วง ชาวบ้านเรียกว่า “สวะ” สวะหรือผักตบชวา แหล่งที่พบมาก เช่น ที่ลำห้วยแจระแม ตำบลในเมือง และที่ลำห้วยวังนอง ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ตัวก้าน เมื่อนำมาตากแห้งแล้วจะมีความเหนียว ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ดี ประโยชน์ของผักตบชวา ทำเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยต่างๆ เช่น กระเป๋า หมวก รองเท้า กระจาด ถาด ที่ใส่จดหมาย แผ่นรองความร้อน ฯลฯ



7. ย่านลิเภา
ย่านลิเภาเป็นพืชประเภทเถาวัลย์ มีลักษณะเป็นเถา ลำต้นจะโตประมาณก้านไม้ขีด หรือหลอดกาแฟ เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 2 วา ใบของย่านลิเภาจะเป็นใบเล็กๆ และหยิกงอชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าละเมาะ และจะเลื้อยเกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้อื่นๆ แต่จะขึ้นเกาะอยู่เหนือต้นไม้อื่น จึงทำให้มองเห็นได้ง่าย มีมากทางภาคใต้ แหล่งที่พบมาก คือ ที่จังหวัด
นครศรีธรรมราช
คุณสมบัติพิเศษของย่านลิเภาคือ มีลำต้นเหนียว ทนทาน จึงเหมาะที่จะนำมาสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ เชี่ยนหมาก ซึ่งกระเป๋าถือจากย่านลิเภาจะนิยมกันมาก เป็นเครื่องใช้ที่มีคุณค่า







โดย : นาง เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 16 มกราคม 2545