พระบรมราโชวาท


พระบรมราโชวาทองค์ที่ 1

ผู้ให้พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้รับพระบรมราโชวาท
คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล
สถานที่ ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2520

เนื้อเรื่องย่อ
บทนำ ทรงกล่าวนำว่าวันนี้เป็นวันที่น่ายินดี เพราะเป็นวันรับรางวัลประจำปี และเป็นวันที่ทุกคนมาชุมนุมกันเพื่อรับทราบผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน
เนื้อเรื่อง ทรงแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล และปลอบใจผู้ไม่ได้รับรางวัล ทรงแนะวิธีการหาความรู้และขอร้องให้ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่ศิษย์ด้วยความเมตตาและหวังดี
สรุป ทรงขอให้ครูและนักเรียนตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้เต็มกำลังความสามารถ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ และทรงอวยพรให้ทุกคนมีกำลังกาย กำลังสติปัญญา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และประสบความเจริญรุ่งเรือง มีความสุขสบายและสำเร็จทุกประการ


พระบรมราโชวาทองค์ที่ 2

ผู้ให้พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้รับพระบรมราโชวาท
ตัวแทนศูนย์กลางนักเรียนอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย
สถานที่ ศาลาดุสิตาลัย พระราชวังสวนจิตรลดา
วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2516

เนื่อเรื่องย่อ
บทนำ ทรงขอบใจและแสดงความยินดีที่ได้นำเงินและส่งของ
มาช่วยผู้ประสบภัยธรรมชาติภาคใต้ ซึ่งนับเป็นกิจกรรมที่ดี
เนื้อเรื่อง ทรงชี้แจงว่า
1. การทำประโยชน์และการทำดีไม่ใช่ของง่ายแต่ควรทำเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์
2. การทำความดีด้วยการรักษาเกียรติเป็นสิ่งดีและควรทำในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช่ทำล
3. การบริจาคแก่ผู้เคราะห์ร้ายเรียกว่าทำบุญ ทำให้จิตใจสบาย หากเรามีเคราะห์บ้างก็จะมีคนช่วยเหลือ
4. ทรงเล่าถึงการปฏิบัติงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ที่แล้วๆมา
สรุป ทรงเน้นถึงความสำคัญของความสามัคคี ว่าเป็นพลังสำคัญ
สำหรับบ้านเมือง และทรงอำนวยพรให้ทุกคนประสบความสุขและความสำเร็จ


พระบรมราโชวาททั้ง 2 องค์ที่อัญเชิญมาให้เรียนนี้แตกต่างกันคือ พระบรมราโชวาทองค์แรกเรียบเรียงขึ้นเป็นาทนิพนธ์ คือร่างเป็นต้นฉบับไก่อน ส่วนองค์ที่ 2 เป็นพระบรมราโชวาทที่ทรงกล่าวโดยไม่มีต้นฉบับแต่ได้เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้

การพิจารณาวาทะของบุคคล
- เนื้อหาความคิด ต้องพิจารณา
1. จุดมุ่งหมาย
2. ความคิดที่เด่นชัด
3. ประโยชน์
4. มีเหตุผล
5. มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
6. มีหลักฐาน ข้อมูลสนับสนุน

- การลำดับความคิด ต้องพิจารณา
1. สัดส่วนและความเหมาะสมของการเริ่มเรื่อง เนื้อเรื่องและการสรุป
2. ความชัดเจนของการแสดงความคิดที่ลึกซึ้งและซับซ้อน
3. การใช้ตัวอย่างประกอบ
4. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน

- การใช้ภาษาแสดงความคิดต้องพิจารณา
1. ความแจ่มแจ้ง กระชับ และมีชีวิตชีวา
2. การใช้คำหรือกลุ่มคำเปรียบเทียบ ช่วยให้เกิดสัมฤทธิผลในการสื่อสารอย่างไร
3. ความกลมกลืนของการเข้าประโยคและการเรียบเรีนยงประโยค



ที่มา จุไรรัตน์ วรรณยิ่ง . ภาษาไทย (ท 503 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5



โดย : นาง ศิริพันธ์ พัฒรชนม์, โรงเรียนราชวินิต มัธยม, วันที่ 28 มิถุนายน 2545