เสียงดังเป็นพิษ ชีวิตจะเป็นภัย

แหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหามากที่สุดในเมือง คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เรือหางยาวและรถอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย
อันตรายจากเสียงดัง อันตรายต่อการได้ยิน
1. หูหนวกเฉียบพลัน เกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ทันที เช่น เสียงระเบิด
2. หูหนวกชั่วคราวหรือหูหนวกถาวรเกิดจากการอยู่ในที่มีเสียงดังมากเป็นเวลานาน ๆ
3. อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปและต่อจิตใจ
4. รบกวนการพักผ่อน นอนหลับ
5. ก่อให้เกิดความรำคาญและรบกวนการสื่อสารที่ใช้เสียง
6. รบกวนการทำงานและประสิทธิภาพของการทำงานลดลง
7. เกิดความเครียดและเสียสุขภาพจิต
8. อาจเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและแผลในกระเพาะอาหาร





หูของท่านปกติหรือไม่ มีวิธีการตรวจอย่างง่าย ๆ 2 วิธี คือ
1. ให้ท่านยืนหันหลังห่างจากเพื่อนของท่าน 5 ฟุต แล้วให้เพื่อนเรียกชื่อท่านด้วยเสียงดังตามปกติ ถ้าท่านได้ยินให้ขานตอบ ทำซ้ำ 5 ครั้ง ถ้าไม่ได้ยินเสียงเรียกแสดงว่าหูของท่านอาจผิดปกติ
2. ให้ท่านกำมือแล้วใช้นิ้วชี้ถูกับนิ้วหัวแม่มือห่างจากหูประมาณ 1 เซนติเมตร และฟังเสียง ทดลองกับหูทีละข้าง ถ้าไม่ได้ยินเสียงต้องรีบปรึกษาแพทย์
จะรู้ได้อย่างไรว่าบริเวณใดมีเสียงดังถึงขึ้นอันตราย
ถ้ายืนพูดคุยกันในระยะห่างประมาณหนึ่งช่วงแขนแล้วไม่ได้ยินและไม่เข้าใจกัน แสดงว่าบริเวณนี้มีเสียงดังถึงขั้นอันตราย
การแก้ไขปัญหาเสียงดังจากรถและเรือ
1. ใช้ท่อไอเสียที่มีเครื่องระงับเสียงและได้มาตรฐาน มอก. ในกรณีรถจักรยานยนต์และรถยนต์
2. ไม่ดัดแปลงท่อไอเสีย ให้มีเสียงดัง
3. ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
4. ไม่ควรใช้แตรลมหรือใช้แตรโดยไม่จำเป็นขณะอยู่ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย
5. ไม่ใช้ความเร็วสูง หรือเร่งเครื่องยนต์แรง ๆ
6. ไม่บรรทุกภาระมากเกินไป




มาตรฐานและวิธีการตรวจวัดระดับเสียงจากรถและเรือ
1. ให้จอดรถหรือเรืออยู่ในเกียร์ว่าง
2. เร่งเครื่องยนต์ให้ความเร็วรอบสูงสุดในกรณีรถยนต์หรือเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
การตรวจวัดระดับเสียง
การตรวจวัดระดับเสียงจากรถ มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ให้ไมโครโฟนห่าง 0.5 เมตร จากปล่อยท่อไอเสีย ทำมุม 45 องศา ระดับเดียวกับท่อไอเสียและขนานกับพื้น
วิธีที่ 2 ต้องไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ให้ไมโครโฟนห่าง 7.5 เมตร จากตัวรถ สูง 1.2 เมตร และขนานกับพื้น
การตรวจวัดระดับเสียงจากเรือ
ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ให้ไมโครโฟนห่าง 0.5 เมตร มุม 45 องศา จากปลายท่อไอเสียหรือจากกราบเรือ โดยตั้งไมโครโฟนในระดับเดียวกันกับปลายท่อไอเสียและขนานกับผิวน้ำ

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ



โดย : นาง พรพิมล เอมโกษา, โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, วันที่ 29 มิถุนายน 2545