รถเต่า

โฟล์คสวาเกน(Volkswagen) แปลว่า "รถยนต์สำหรับประชาชน" เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสร้างรถยนต์ให้ชาวเยอรมันซื้อเป็นเจ้าของได้ง่ายๆ
โดยมี ดร.เฟอร์ดินานด์ ปอร์เช่ ผู้มีความอัจฉริยะทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ เป็นผู้ออกแแบบ
รถยนต์ต้นแบบถูกสร้างขึ้นจากแนวความคิดที่ปฏิวัติการออกแบบวิศวกรรมยานยนต์ รถยนต์ในรูปไข่ผ่าครึ่งคว่ำ ซึ่งเป็นรูปแบบอมตะที่รถสปอร์ตชั้นนำของโลกคือ ปอร์เช่ นำมาใช้และรถยนต์คันต้นแบบถูกทดสอบกว่า 50,000 กม.ในเดือนพฤษภาคม คศ.1938 รถยนต์โฟล์คสวาเกนก็เริ่มเข้าสู่สายการผลิต
เส้นทางที่ยาวไกลสู่ถนนเมืองไทย
รถยนต์โฟล์คสวาเกนได้เริ่มเข้ามาอวดโฉมบนถนนเมืองไทยในปี พ.ศ.2496 หรือ 47 ปีที่แล้ว โดยการร่วมมือของ มจ.ปิยะและมจ.สนิท รังสิต ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ประชายนต์ จำกัด นำรถโฟล์คสวาเกนรุ่นต่างๆเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก็เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยคุณภาพที่แข็งแรง ทนทาน สวยแปลกตาและดูแลรักษาง่าย





เมืองไทยบ้านหลังที่สองของ Beetle
จากความนิยมที่ได้รับอย่างสูงในปี พ.ศ.2510 รถโฟล์คเต่า (Beetle) จึงขึ้นสายการผลิตประกอบขึ้นในประเทศไทย ที่โรงงานบางชัน กรุงเทพฯ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์โฟล์คสวาเกน สูงขึ้น บริษัทจึงเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท เป็น บริษัทคอมเมอร์เชียล ประมวล มอเตอร์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาทและเปลี่ยนเป็นบริษัท คอมเมอร์เชียลมอเตอร์ จำกัด ในภายหลัง
รถยนต์โฟล์คสวาเกนอยู่ในใจคนไทยไม่เคยเปลี่ยน
ด้วยข้อจำกัดของกฎหมายในขณะนั้นที่มีประกาศห้ามนำเข้า
รถยนต์นั่งสำเร็จรูป(CBU) และกฎหมายบังคับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ
รถโฟล์คเต่า (Beetle) จึงถูกยกเลิกการผลิต ในปี พ.ศ.2521 ความนิยมรถโฟล์คเต่าก็ยังมีให้เห็นไม่ขาดตา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ยกเลิกนโยบายการนำเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูป ยนตรกิจกรุ๊ป ได้เข้าซื้อกิจการและบริหารภายใต้ชื่อบริษัท เยอรมัน มอเตอร์เวิร์ค จำกัด เริ่มนำเข้ารถยนต์โฟล์คสวาเกน กอล์ฟและ เวนโต้ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเช่นเคย
รถยนต์โฟล์คสวาเกนสร้างสรรค์และตอบสนองความต้องการไม่จำกัด
ด้วยคุณภาพและความแตกต่าง ทำให้รถยนต์โฟล์คสวาเกนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่างสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นพัสสาทใหม่ที่หรูหราภูมิฐาน รถยนต์โฟล์คสวาเกนกอล์ฟ 2.3 ที่ตอบสนองชีวิตคนเมืองที่มีสไตล์อย่างแท้จริง และล่าสุดรถยนต์โฟล์คสวาเกน New Beetle ที่ทุกคนรอคอย
เราจะไม่หยุดที่จะก้าวไปข้างหน้า
ด้วยความพร้อมในทุกๆด้าน และเพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้ใช้รถยนต์โฟล์คสวาเกน ทุกคน โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป และยนตรกิจ กรุ๊ปจึงร่วมลงทุนกว่า 400 ล้านบาทสร้างฐานการผลิตรถยนต์โฟล์คสวาเกนในเมืองไทย ด้วยการสนับสนุนทั้งทางด้านบุคคลากร อะไหล่ และ เทคโนโลยี โดยใช้โรงงาน YMC ของยนตรกิจกรุ๊ป นี่คืออีกโฉมหน้าหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในคุณภาพของกลุ่มบริษัทคนไทย ความเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจและตลาดของเมืองไทย






โดย : นาย คงคา แจ้งจบ, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 8 ธันวาคม 2544