การเดินทางในอวกาศ


คำว่าอวกาศในที่นี้หมายถึง ขอบเขตที่เดินทางไปถึงทุกแง่ในเอกภพนับตั้งแต่เลยบรรยากาศของโลก ออกไปความจริงขอบเขตระหว่างอากาศกับชั้นบรรยากาศของโลกอยู่ตรงจุดใดไม่มีเขตแดนแบ่งอย่างแน่ชัด แต่เพื่อความสะดวกจะถือว่าในระดับความสูง100ไมล์(160กิโลเมตร)เหนือผิวโลกคือบริเวณเริ่มต้นของ อวกาศ ในระยะทางเช่นนั้นถือว่า เป็นระยะทางสั้นนิดเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับ ความกว้างใหญ่ไพศาล ของเอกภพแม้แต่ในระบบสุริยจักรวาลเองระยะระหว่างดาวเคราะห์ดวงต่างๆจะวัดเป็นหน่วยสิบไมล์ระยะทาง ของดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดมีระยะทางมากกว่า3,000,000,000ไมล์
ระบบสุริยจักรวาลเดินทางไปในแกแลกซี่ทางช้างเผือก ของเราดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุดอยู่ไกลเลยออกไปกว่า 4 ปีแสง ( ประมาณ25,000,000,000,000 ไมล์) อย่างไรก็ดีความว่างเปล่าของอวกาศซึ่งกว่างใหญ่ไพศาลเกินกว่าจะเข้าใจได้ ว่ามีขอบเขตแค่ไหนนั้นมิได้มีความว่างเปล่าที่แท้จริงตลอดทั่วความกว้างใหญ่ของอวกาศปรากฎว่ามีสสาร(ส่วนใหญ่คือก๊าช ไฮโดรเจน)กระจายอยู่ทั่วไปในระดับความหนาแน่นตำมากซึ่งบางทีอาจมีเพียง10อนุภาคต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตรเท่านั้นหรือประมาณ167อนุภาคต่อลูกบาศก์นิ้วในอวกาศระหว่างดาวเคราะห์แต่ในอวกาศ ระหว่างดวงดาวจะมี1อนุภาคต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตรเท่านั้น อย่างไรก็ดีในความหนาแน่นของอนุภาค ในอวกาศระดับนี้มีสภาพเป็นสูญญากาศมากกว่าสูญญากาศของมนุษย์ ที่เคยประดิษฐ์ขึ้นมาบนโลกยิ่งไปกว่า นั้นห้วงอวกาศมีสนามแม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแทรกซึมอยู่ทั่วไป
ก่อนถึงปี ค.ศ 1946 ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราว ของอวกาศคลาดเคลื่อนไปบ้างเพราะบรรยากาศของโลก เป็นอุปสรรคสำคัญแต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ มีจรวดเดินทางขึ้นไปในระสุงในยุค สงครามโลกครั้งที่สอง กับมีดาวเทียมติดเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และมียานอวกาศขึ้นไปในอวกาศมนุษย์จึงเข้าใจความซับซ้อนของปรากฎการณ์ทางอวกาศได้ยิ่งดีขึ้นเรื่อย ๆ


โดย : นาย ชาญกิจ อนันต์โชติกุล, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 9 ธันวาคม 2544