เวลา


เวลา" มีความสำคัญต่อการบ่งบอก หรืออ้างอิง ทั้งด้านการดำรงชีวิตของมนุษย์ มาแต่อดีตกาล ทั้งในชีวิตประจำวัน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อุตสาหกรรม รวมไปถึงด้านวิทยาศาสตร์ แม้ว่าการให้คำนิยามของคำว่า "เวลา" จะเป็นสิ่งที่ค่อนข้าง ยากลำบาก แต่ "เวลา" ก็มีความหมาย และความสำคัญ ควบคู่กับมนุษย์เสมอมา

ตั้งแต่อดีตกาล

เมื่อยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดเวลา เหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ จะถูกอ้างอิงถึงด้วยช่วงของเวลา ซึ่งจะเปรียบเทียบกับจุดอ้างอิง หรือจุดสังเกตเสมอ แม้ว่าปัจจุบัน จะมีนาฬิกาเป็นเครื่องอ้างอิง ในการบอกเวลาแล้วก็ตาม นาฬิกาที่ใช้ในปัจจุบัน ก็ยังอาศัยการเปรียบเทียบช่วงเวลา เพื่อใช้ในการบอกเวลาอยู่ดี

Apparent Solar Day Time

การอ้างอิงเวลาในสมัยแรกๆ มนุษย์อาศัยการสังเกตการเคลื่อนที่ ของดวงอาทิตย์รอบโลก (เนื่องจากเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล) ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ทางทิศตะวันออก และตกในทิศตะวันตกเสมอ ช่วงระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ ผ่านจุดเหนือศีรษะ ในแต่ละวันนั้น เรียกว่า "Apparent Solar Day"

หรือความหมายในปัจจุบัน วันที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ("Apparent Solar Day") คือ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ผ่านจุดที่เส้นโค้ง จากขั้วฟ้าเหนือไปขั้วฟ้าใต้ (Colestial Meridian) ตัดกับจุดจอมฟ้า (Zenith) ในแต่ละวันนั่นเอง

Sideral Day Time

ซึ่งการอ้างอิงเวลาแบบ Apparent Solar Time ดังกล่าว จะใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ดวงดาวบนท้องฟ้า เคลื่อนที่ครบรอบ กลับมายังจุดเดิมในแต่ละวัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เรียกว่า "The Sidereal Day" (อ่านออกเสียงแบบคำว่า "Ethereal Day") ซึ่งเป็นวันที่เกิดจาก การเคลื่อนที่ของดวงดาวรอบโลก ในแต่ละวัน

ทั้งนี้ ช่วงเวลาของวันทั้งสอง จะต่างกันเล็กน้อย เนื่องจาก การที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เห็นดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ไปตามกลุ่มดาวต่างๆ (กลุ่มดาวจักรราศี) โดยค่อยๆ เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกช้าๆ วันละประมาณ 1 องศา (หรือ 360 องศาต่อปี) จึงทำให้ช่วงของวัน ที่เกิดการการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ (Apparent Solar Day) เร็วกว่าช่วงของวัน ที่เกิดการการเคลื่อนที่ของดวงดาว (A Sidereal Day) ประมาณ 3 นาที 35 วินาที - 4 นาที 26 วินาทีต่อวัน (ขึ้นกับว่าโลก หันด้านเอียงเข้าดวงอาทิตย์ มากหรือน้อย) ดังนั้น Apparent Solar Day จึงไม่เท่ากันคงที่ในแต่ละวัน

Mean Solar Day Time

ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการประดิษฐ์นาฬิกาขึ้นใช้งาน พบว่าเวลาในแต่ละวันจะคงที่ เนื่องจากนาฬิกา ไม่สามารถปรับช่วงค่าของเวลาในแต่ละวันตาม Apparent Solar Day ได้ จึงต้องมีการกำหนดให้เวลาในแต่ละวันคงที่ โดยเฉลี่ยเวลาจาก Apparent Solar Day มาเป็น "Mean Solar Time"

ช่วงเวลาในแต่ละวันเฉลี่ย ที่กำหนดขึ้นใหม่ (Mean Solar Time) จะทำให้มีช่วงต่างระหว่าง Apparent Solar Time และ Mean solar time อยู่ระหว่าง 0 - 16 นาที





Standard Time

การอ้างอิงเวลาโดยใช้ Mean Solar Time นั้น เวลาของสถานที่ต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับว่า สถานที่นั้นห่างกันกี่องศา ในทิศตะวันออก-ตะวันตก (หรือกี่องศาลองติจูด - longitude) สถานที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกกว่า 1 องศา เวลาก็จะเร็วกว่าประมาณ 4 นาที เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่รอบโลก กลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม 360ฐ ใน 24 ชั่วโมงนั่นเอง

การอ้างอิงดังกล่าวนั้น มีความยุ่งยากและสับสนในการอ้างอิงเวลา ของสถานที่ที่ต่างกัน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) Charles F. Dowd ผู้อำนวยการโรงเรียน Saratoga Springs ใน N.Y. ได้เสนอให้มีการแบ่งเวลาออกเป็นโซน หรือเรียกว่า "Time Zones" เพื่อให้สถานที่ที่อยู่ในโซนเดียวกัน ใช้เวลาเดียวกันทั้งหมด

ข้อเสนอนี้มีความสำคัญ และจำเป็นมากขึ้น เมื่อ Sir Sandford Fleming วิศวกรโครงการชาวแคนาดา ผู้ควบคุมงานวางรางรถไฟ สาย U.S.- Canadian ในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) กำหนดให้มีการใช้เวลามาตรฐาน ของแต่ละพื้นที่ เนื่องจากทางรถไฟมีระยะทางค่อนข้างยาว พื้นที่ที่ทางรถไฟตัดผ่าน มีความแตกต่างของเวลาหลายชั่งโมง ทำให้การอ้างอิงเวลา และการกำหนดตารางแผนโครงการ มีปัญหาเป็นอย่างมาก

ต่อมาในปี พ.ศ.2427 (ค.ศ. 1884) มีการตกลงกันของประเทศที่เข้าร่วมประชุม 27 ประเทศ ที่ Washington, D.C. กำหนดให้แบ่งพื้นที่มาตรฐานของโลก ออกเป็น 24 โซน โดยใช้เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือ ไปยังขั้วโลกใต้เป็นเส้นแบ่ง โดยแต่ละโซนมีความกว้าง 15 องศา และให้จุดเริ่มต้นหลัก (The Prime Meridian) เป็นเส้นเมอริเดียน หรือลองติจูดที่ผ่านเมือง Greenwich ประเทศอังกฤษ

จากการกำหนดดังกล่าว ทำให้เวลาในแต่ละวันทั่วโลก ถูกแบ่งเป็น 24 โซน (24 Standard Time Zone) ซึ่งในแต่ละ Time zone จะใช้เวลาเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า "Standard time"



ดังนั้นความหมายของ "Standard time" หรือเวลามาตรฐาน ก็คือ เวลาที่เหมือนกันในแต่ละโซน ซึ่งเวลาในพื้นที่ต่างกันไปทางทิศตะวันออกกว่า จะเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ต่อ 15 องศาลองติจูด (หรือ 1 time zone) และจะช้าลง 1 ชั่วโมง ต่อ 15 องศาลองติจูดไปทางทิศตะวันตก

Greenwich Mean Time

การแบ่ง Standard Time Zone ออกเป็น 24 ชั่วโมงนั้น จะถือเอา เส้นสมมติที่ลากในแนวเหนือ-ใต้ ผ่านหอดูดาวเมือง Greenwich (The Observatory of Greenwich) ในประเทศอังกฤษ เป็นเส้นเมอริเดียนหลัก (The Prime Meridian) และเวลาที่ใช้อ้างอิงหลัก ในการใช้ Standard time ก็จะใช้เวลาที่เป็น Mean Solar Time ของเมือง Greenwich เป็นเกณฑ์ ดังนั้น เราจึงเวลาหลักนี้ว่า เรียกว่า "Greenwich Mean Time" (GMT) นั่นเอง

แม้ว่าปัจจุบัน "The Observatory of Greenwich" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "The Royal Greenwich Observatory" และหอดูดาวก็ได้ย้ายไปเมือง Hailsham, East Sussex ตั้งแต่ปีช่วงคศ. 1950s แล้วก็ตาม แต่สถานที่ดั้งเดิมดังกล่าว ก็ยังถือว่าเป็นสถานที่อ้างอิง 0 องศาลองติจูด จนกระทั่งปัจจุบัน

เมื่อเริ่มต้น ในปี พ.ศ.2427 (ค.ศ.1884) นั้น การนับเวลาแบบ GMT ในแต่ละวันนั้น จะนับเวลาเริ่มต้นที่ 0 นาฬิกา (0000 GMT) ในตอนเที่ยงวัน (เนื่องมาจากใช้ Mean Solar Time เป็นหลักนั่นเอง) ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2468 (ค.ศ. 1925) ได้มีการกำหนดใหม่ ให้เวลา GMT เริ่มต้นวันใหม่ ที่ตอนเที่ยงคืนดังเช่นในปัจจุบัน

Universal Time

และต่อมา ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU: International Astronomical Union) กำหนดให้เวลามาตรฐานที่ 0 องศาเมอริเดียน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Universal Time" (UT) ดังนั้น Universal Time (UT) คือ เวลาของ Mean Solar Time ที่ Greenwich Meridian หรือ 0 องศาลองติจูดนั่นเอง

ปัจจุบัน ชื่อเรียก GMT (ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือชื่อเดิมของ UT) ยังคงนิยมใช้เรียกในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หรืออ้างอิงในการเดินเรือ เป็นต้น.



โดย : อื่นๆ นพัศม์ ฉัตรประเทืองกุล, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 10 ธันวาคม 2544