น้ำตาลทรายขาว

น้ำตาลทรายขาวได้มาจากน้ำอ้อยเช่นเดียวกันกับน้ำตาลอ้อย แต่กรรมวิธีการผลิต
ต่างกันโดยมีการฟอกสีและทำให้น้ำระเหยออกในอุณหภูมิต่ำได้เป็นเกร็ดน้ำตาลทรายขาวใส
แม้ว่าจะผลิตจากวัตถุดิบอย่างเดียวกันกับน้ำตาลอ้อย แต่สรรพคุณทางยานั้นต่างกัน เพราะน้ำตาลทรายมีฤทธิ์ปานกลาง ในขณะที่น้ำตาลอ้อยมีฤทธิ์ร้อน อุ่น เวลาใช้จึงควรระวังให้ดี เช่น
ยาแก้หวัดลมเย็น เราใช้ยาที่มีสรรพคุณร้อนเช่นขิงต้มให้รับประทาน ทำให้ร่างกายอบอุ่น ถ้าต้องการปรุงขิงต้มด้วยน้ำตาล ก็ควรจะใช้น้ำตาลอ้อยเพราะมีฤทธิ์ร้อนอุ่นเป็นการเสริมฤทธิ์การรักษา แต่ถ้าใช้
น้ำตาลทรายขาวกลับทำให้ผลการรักษาลดลง เพราะน้ำตาลทรายขาวมีฤทธิ์ปานกลางหรือเย็น เท่ากับว่าต้านฤทธิ์ของขิง ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการใช้น้ำตาลปรุงรสยาเย็น ดับร้อน แก้กระหาย ก็ไม่ควรใช้
น้ำตาลอ้อยเป็นยาร้อนเท่ากับต้านฤทธิ์ยาเย็น
มีการใช้น้ำตาลทรายขาวเป็นตำรับยาอย่างง่ายๆ ดังนี้
แก้ไอ ละลายเสมหะ : เอาน้ำตาลทรายขาวผสมกับพุทราจีนทำเป็นพุทราเชื่อมใช้อมก่อนเคี้ยว หลังอาหาร 1-2 เม็ด
ปวดท้อง แน่นท้อง : น้ำตาลทรายขาว กับเหล้าขาว ต้มรวมกันรับประทาน
ปวดท้อง กินปลาปูแล้วไม่สบายท้อง กินกระเทียมหรือกุยช่ายแล้วปากเหม็น : เอาน้ำแกงที่ปรุงเป็นอาหารผสมกับน้ำตาลทรายขาว ดื่มน้ำแกงนี้จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก : น้ำตาลทรายขาว 30 กรัม เนื้อบ๊วยแห้ง 3 กรัม คั่วรวมกัน
จนเกรียมจึงใส่ผงการบูรและน้ำมันงา เอายาที่ได้ทาบริเวณที่เป็นแผล

ที่มา : หนังสือคู่มือ - คู่บ้าน เล่ม 3




โดย : นาย ปิยบุตร ปิยนามวาณิช, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 12 ธันวาคม 2544