มือถือตาวิเศษ



สำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า e-911 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถระบุตำแหน่งโทรศัพท์มือถือ เป็นโครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 2539 การพัฒนาระบบ e-911 กำหนดสิ้นสุดการพัฒนาระยะที่ 1 เมื่อปี 2541 ที่ผ่านมา มีศักยภาพช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบโทรศัพท์มือถือต้องสงสัยจากสถานีฐานที่ใกล้ที่สุด รัศมีประมาณ 1-5 ไมล์ การพัฒนา e-911 ระยะที่ 2 กำหนดให้สามารถระบุตำแหน่งของมือถือได้ในรัศมี 100 หลา ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 นี้ แต่มีรายงานว่าผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคมชั้นนำของสหรัฐ กำลังพยายามเจรจากับทางการขอเลื่อนเวลาออกไป เพราะจากการสำรวจความพร้อมของสถานีตำรวจในสหรัฐ พบว่ามีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีเทคโนโลยีพร้อมรองรับระบบดังกล่าว สำหรับในประเทศไทย หากชอบดูโฆษณา โทรทัศน์ อาจเจอสปอตค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของท่านนายกรัฐมนตรี ที่มีคุณยายกำลังเป็นลม ลูกหลานตามหาไม่เจอ แต่คุณยายเปิดมือถือไว้ เลยสามารถช่วยชีวิตคุณยายเอาไว้ได้ จากการใช้เทคโนโลยีมือถือในการค้นหานายวิเชียร เมฆตระการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวิศวกรรม เอไอเอสบอกว่า เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่งมือถือ มีหลากหลายมาก แต่ที่นิยมกันมากที่สุด มี 3 วิธี คือระบบ จีพีเอส เป็นมือถือระบบ จีเอสเอ็มที่มีระบบจีพีเอส หรือระบบแผนที่ดาวเทียม ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งของมือถือได้ในวงแคบและชัดเจน ผ่านดาวเทียมจีพีเอส ซึ่งโคจรอยู่บนท้องฟ้าสูงกว่า 10,000 กม. ระบบแผนที่ดาวเทียมละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งระบุตำแหน่งได้ชัดเจนมากขึ้น แต่วิธีนี้ก็แพงมากที่สุดเช่นกัน วิธีที่สอง เป็นแบบโลเคชั่นเบส วิธีนี้จะช่วยกำหนดตำแหน่ง มือถือได้ในบริเวณหนึ่ง เป็นระยะประมาณการ วิธีที่สองนี้ แค่มีมือถือระบบจีเอสเอ็มก็ค้นหาได้แล้ว ตอนนี้เอไอเอสกำลังทดสอบ ระบบนี้อยู่ อีกไม่นานคงได้เห็นกัน ส่วนวิธีที่สาม ใช้สถานีฐานเพียง 1 แห่ง แล้วใช้ข้อมูลตรวจสอบสัญญาณไป-กลับเหมือนวิธีที่สอง ต่างกันที่ใช้เพียง 1 สถานี ฐานเท่านั้น แต่วิธีที่สองและสามความแม่นยำจะมีน้อยกว่าใช้ระบบจีพีเอส แต่ถูกกว่า ระบบค้นหาของเอไอเอส ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นทดลองนี้ เหมาะกับกลุ่มองค์กรที่ต้องการทราบตำแหน่ง ชัดเจน เช่น รถขนส่งปูนซีเมนต์ ซึ่งทางบริษัทจะต้องรู้ว่า ขณะนี้รถนั้นเดินทางถึงจุดไหนแล้ว เป็นต้น
หากมือถือที่หน้าจอไม่กว้างมาก แผนที่ซึ่งเราต้องการใช้ อาจเห็นเป็นเส้นอะไรก็ไม่รู้ ยึกยือพิกล เมืองไทยคงไม่มีเหตุก่อวินาศกรรมรุนแรงแบบสหรัฐ อเมริกา เทคโนโลยีค้นหาตำแหน่ง มือถืออาจเป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ให้บริการ

จาก หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ /พ.ย. /2544


โดย : นาย ธนภูมิ ลิ่มชูเชื้อ, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 15 ธันวาคม 2544