พีระมิด

พีระมิด
พีระมิด นับเป็นเวลานานกว่า 40 ศตวรรษแล้ว ที่พีระมิดมหัศจรรย์ของอียิปต์ตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นสง่าท้าทายแสงตะวัน แสงเดือน
และหมู่ดาวที่ทอแสงระยิบระยับถ บนชายฝั่งที่ราบลุ่มด้านตะวันตกตามแนวแม่น้ำไนล์อันเป็นสายเลือดใหญ่ที่หล่อ เลี้ยงชาวอียิปต์มา
นักอียิปต์วิทยาบางกลุ่มกล่าวกันว่า พีระมิดเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงความเป็นอมตะของฟาโรห์
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เสมือนหนึ่งเทพเจ้า เหนือปวงชนชาวอียิปต์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะมหาพีระมิดและสฟิงซ์ที่เมืองกิซานั้น
ดูเหมือนว่าจะเป็นโบราณ สถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่กุมความลับของโลกดึกดำบรรพ์และความลับของโลกแห่งอนาคตเอาไว้ สิ่งมหัสจรรย์ดังกล่าวนี้สร้างขึ้นมาได้อย่างไร
วัสดุก่อสร้างนำมาจากไหน ? เทคโนโลยีในการสร้างเลียนแบบมาจากใคร ? สร้างขึ้นในสมัยใด ? และมีจุดมุ่ง หมายอย่างไร ?
หรือว่าคำตอบปริศนาเร้นลับทั้งหลายยังฝังอยู่ใต้ทะเลทรายแถบ นั้น จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีใครทราบคำตอบที่แท้จริงเลย มีแต่เพียงคำกล่าวอ้าง
ตามข้อสันนิษฐานของคนโบราณที่เล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น

การกำเนิดชื่อพีระมิด ชื่อพีระมิดที่เป็นภาษาอังกฤษนั้น มีรากศัพท์จากภาษากรีกซึ่งเรียกว่า พีรามิสหรือ พีรามิเดส ( เอกพจน์ คือ Pyramis และ Pyramides )
มีนักภาษาศาสตร์บางท่านกล่าวว่า คำว่าพีรามิสนี้น่าจะมาจากคำว่า Per-em-us ซึ่งพบอยู่ในเอกสาร บันทึกที่ทำด้วยกระดาษปาปิรุสซึ่งอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวทาง
คณิตศาสตร์ของชาวอี ยิปต์โบราณ ปัจจุบันเอกสารดังกล่าวยังเก็บรักษาไว้ในพิพิทธภัณฑ์ประเทศอังกฤษ เขากล่าวว่าเนื่องจากคำว่า per-em
สองพยางค์นี้หมายถึงการคำนวนความสูงในแนวตั้งของพีระมิดหรือหมายถึงสิ่วที่ตั้งตรงขึ้นไป แต่คำว่า us นั้นยังเป็นคำที่ลึกลับอยู่ ไม่สามารถหาความหมายได้เลย
ปรากฏว่าการสันนิษฐานของนักภาษาศาสตร์ท่านนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอียิปต์โบราณ พวกเขากล่าวว่า คำว่า พีรามิส เป็นคำพูดของชาวกรีกโดยเฉพาะ
ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคำพูดของถ ชาวอียิปต์แต่อย่างใด หนังสือเกี่ยวกับอียิปต์โบราณ เรื่องดวงประทีปแห่งโลก ซึ่งเขียนโดย เยอราลด์ แมสซีย์ กล่าวว่า
คำว่าพีระมิดน่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งมาจากถ คำว่า Pur ภาษากรีก หมายถึง ดวงดาวหรือดวงไฟที่ให้แสงสว่าง สัมพันธ์กับคำว่า Met ซึ่งเป็นภาษาอียิปต์
หมายถึง การวัดหรือเลข 10 ดังนั้นเขาจึงสรุปว่าเมื่อรวมกันแล้วคงเป็นคำพูดที่หมายถึงการวัดเกี่ยวกับดวงดาว หรือการวัดที่อาศัยดวงอาทิตย์หรือดวงดาว
ที่เป็นไปตามวงโคจรแห่งจักรราศีปรากฏว่าทฤษฎีของเยอราลด์นี้ นักถ ปราชญ์ชาวอียิปต์กล่าวว่าเป็นทฤษฎีที่พอฟังได้ แต่เขาสรุปว่า น่าจะหมายถึง การคำนวน
เกี่ยวกับดวงดาว 10 แบบถึงอย่างไรก็ตามทีความจริงเกี่ยวกับการกำเนิดชื่อ และความหมายของพีระมิดยังไม่เด่นชัดมันจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่กล่าวอ้างตาม
ความคิดเห็นและความเข้าถ ใจเท่านั้น การก่อสร้างพีระมิด สิ่งที่น่าพิศวงเกี่ยวกับพีระมิด คือ การก่อสร้างพีระมิด ผู้สร้างทำอย่างไร ? จากหลักฐานทางโบราณคดีทาง
ธรณีวิทยาที่ค้นพบเชื่อกันว่า ผู้สร้างใช้หลัการก่อสร้างตามบรรพบุรุษ มีอารยธรรมสูง และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้าน ต่าง ๆ มากทีเดียว แต่บรรพบุรุษ
ของพวกเขาคือชนเผ่าใด ? นี่คือปัญหาที่น่าพิจารณาการเตรียมระดับพื้นฐานในการการก่อสร้างพีระมิดนั้น สันนิษฐานได้ว่า เขา ใช้วิธีเจาะคลองรอบ ๆ บริเวณนั้น
แล้วเทน้ำลงไปจากนั้นก็ตัดหรือเจาะหินตามระดับน้ำที่เท่ากันโดยรอบ แล้วขัดเกลาให้ราบเรียบ ข้อเท็จจริงที่สถาปนิกและวิศกรรุ่นใหม่คนพบก็คือว่า
การวางฐานการก่อสร้างเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านทั้ง 4 หรือมุมยกจากฐานไปยังยอดตรงตามหลักคณิตศาสตร์ ซึ่งพีทาโกรัส
นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวกรีกค้นพบในเวลาต่อมาทุกประการในการขุดเจาะหินคงจะแยกกัน 3 จุด เพื่อเตรียมหินสำหรับก่อสร้างพีระมิด
บริเวณฐานตรงกลางใช้หินทรายก่อเป็นแกนกลางและหินปูนที่ส่องแสงแวววาวนั้น นำมาจากเมืองตูรา ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของเมืองไคโร 48 กม.
ส่วนหินแกรนิตที่วางแนวก่อสร้างที่ห้องโถงและห้องเก็บพระศพนั้นนำมาจากเมืองอัสวานห่างจากเมืองไคโร 960 กม. และคงจะลำเลียงลงไปทางแม่น้ำไนล์
วิธีตัดหินเป็นแท่งคงใช้สิ่วทองแดงสกัดแล้วคงใช้ลิ่มไม้ตอกสลับกับการเทน้ำลงไปเป็นระยะ ๆ จากนั้นก็ใช้ค้อนไม้ตอกช่วยอีกแรงหนึ่ง หินที่ตัดออกมานี้
เฉลี่ยแต่ละก้อนหนัก 2.5 ตัน บางก้อน หนักถึง 15 ตัน การลำเลียงหินคงใช้เรือขนาดใหญ่ลำเลียงในช่วงฤดูน้ำท่วม ส่วน การลำเลียงหินลงเรือนั้นคงใช้แคร่เลื่อนไม้
โดยมีไม้ท่อนกลมหลายท่อนหนุนแล้วลากไปโดยใช้กำลังคนลากเชือกแต่ละเส้น ในขณะที่ลากไปก็ใช้น้ำเทลงไปใต้เลื่อน เพื่อให้มันลื่นและ เพื่อให้มันลื่นและลากไปง่ายขึ้น
โดยลากไปตามทางซึ่งเป็นลานหินจากฝั่งแม่น้ำไนล์ไปยังบริเวณก่อสร้างถ การก่อหินที่ก่อขึ้นนับจำนวนล้านก้อน และหินที่ลำเลียงไปสู่บริเวณที่ก่อสร้างนั้น คงใช้เวลา
ก่อสร้างนานกว่า 30 ปี เพื่อให้สมกับความยิ่งใหญ่ของหลุมพระศพ ฟาโรห์ที่เขาเคารพบูชาเป็นชีวิตจิตใจนั่นเอง ในการก่อหินให้สูงขึ้นไปทีละขั้น ๆ นั้น สถาปนิกรุ่นใหม่
หลายคนให้ความเห็นว่าชาวอียิปต์โบราณที่ก่อสร้างพีระมิดคงสร้างทางลาดทางเป็นบันได ช่วยลำเลียงหินขึ้นไปวางทีละขั้น ๆ จนกระทั่งถึงยอด สาเหตุที่เขากล้า
สันนิษฐานเช่นนี้ก็เพราะว่าได้ขุดค้นซากปรักหักพังของทางลาดดังกล่าวนี้บริเวณรอบ ๆ พีระมิดเมืองไมดุม และเมืองลิชท์ ทางด้านใต้ของเมืองดาห์ชูร์
ข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งก็คือทางลาดอีกแบบหนึ่งทำขึ้นนี้เป็นทางยาวที่ สร้างจากฐานของพีระมิด วนเป็นทางรอบ ๆ พีระมิด แต่ละชั้นโค้งขึ้นไปคล้ายกับบัน-ไดวน
หลังจากก่อหินถึงยอดแล้วคงจะทำลายทางลาดนี้ลงทีละชั้น ๆ จนถึงระดับพื้นฐานของพีระมิดเช่นเดิม แต่ข้อมูลที่สับสนที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา เนื่องจากเฮโรโดตัส
นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกซึ่งมีชีวิตอยู้ในสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ซึ่งได้เคยเดินทางไปอียิปต์ถ ได้บันทึกไว้ว่า ชาวอียิปต์ก่อสร้างพีระมิดโดยอาศัยเครื่องยก
หินที่ทำจากแท่งไม้ขนาดยาว โดยทำเป็นลักษณะปั้นจั่นทุ่นแรงยกหินขึ้นไปวางเรียงกัน แต่ปรากฏว่า ไม่มีร่องรอยที่จะบ่งบอกว่ามีเครื่องยกหินที่ทำด้วยไม้นี้ในอียิปต์เลย
ไม่ว่าจะแสดงเรื่องราวไว้ทางจิตรกรรม สถาปัตยกรรม หรือวรรณกรรม แต่เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ชาวอียิปต์โบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์
มีความสามารถในการทำเครื่องชั่งโดยใช้ไม้ต้นกกหรือต้นอ้อที่ เรียกว่าปาปิรุส มัดรวมกันเป็นท่อนยาว ทำเป็นคานงัดแบบกระเดื่อง นอกจากจะใช้ทำเป็นเครื่องชั่งแล้ว
ยังใช้วิดน้ำเข้าไร่สวน เพื่อช่วยในการ เพาะปลูกด้วย ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ที่มีผู้กล่าวว่า ชาวอียิปต์ใช้คานไม้ยกหินช่วยในการก่อสร้างพีระมิด และเป็นที่น่าสังเกตว่า
โดยเฉพาะแท่งหินที่ก่อพีระมิดจากฐานขึ้นไปสุ่ยอด จะมีขนาดใหญ่และค่อย ๆ ลดขนาดลงจนไปถึงยอดพีระมิดถ กลุ่มคนงานก่อสร้างพีระมิดถ
เฮโรโดตัสได้ประมาณการกำลังคนในการสร้างพีระมิดไว้ว่า คงมีอย่างน้อย 100,000 คน ผลัดเปลี่ยนกันทำงานทุก ๆ 3 เดือน ต่อกันไปจนถึง 20-30 ปี
คำกล่าวนี้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงเพียงใด

เพ็ตทรีนักค้นคว้าโบราณสถานยุคใหม่ได้พบว่าทางด้านตะวันตกของพีระมิดชีเฟรน มีซากโรงเรือนที่พักของคนงานหลายแห่ง เขาได้คาดคะเนว่า
จำนวนคนงานที่สร้างพีระมิดไม่น่าจะเกิน 4,000 คน


ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพลังพีระมิด

ประเด็นที่ 1 เฮนรี มอนทัต แห่งศูนย์ปฏิบัติการค้นคว้าซานเดีย เมืองอัลบูเควอร์เคว มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า
"พลังของพีระมิดอาจเกิดจากโครงสร้างผลึกทางเรขาคณิตภายในองค์พีระมิด แปรเปลี่ยนจากรูปแบบคงที่ (Static Geometry)ไปสู่รูปแบบที่ไม่คงที่
(Dynamic Geometrt) เขาให้เหตุผลว่า สสารและพลังงานต่าง ๆ นั้นจะมีโครงสร้างของผลึกทางเรขาคณิตอยู่ 2 แบบ คือ แบบคงที่ และแบบ ไม่คงที่"

ประเด็นที่ 2 พลังอันเร้นลับของพีระมิดน่าจะเกิดจากพลังงานไทม์ พลังลี้ลับนี้ค้นพบโดย ดร.นิโคไล โคเซอร์เอฟ นักฟิสิกส์แห่งรัสเซีย พลังนี้จะก่อให้เกิด
ผลปฏิกริยาทาง เเม็กคานิคและทางเคมีต่อวัตถุได้ เป็นพลังงานที่ปรากฏได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นที่ใด ภายในโลกหรือในห้วงแห่งจักรวาลถือว่าเป็นพลังงานที่มี
ความสำคัญและคุณค่าทาง ธรรมชาติมากที่สุด ดร.ชาร์ลส์ เอ มูเซส นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งของอเมริกา ก็ได้ยอมรับว่า "ไทม์" เป็นพลังชนิด
หนึ่งซึ่งแฝงอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วไป นอกจากนี้พลังงานไทมยังมีความสัมพันธ์กับพลังไบโอพลาสมาอีกด้วย

ประเด็นที่ 3 แมกซ์ ท็อต และเกร็ก นีลเซน นักค้นคว้าพีระมิดชาวอเมริกัน ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดพลังงานเร้นลับของพีระมิดไว้ว่า
เกิดจากคลื่นไมโครคอสมิกจากดวงอาทิตย์ พลังแม่เหล็กโลก พลังแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความสัมพันธ์กันอยูภายในโครงสร้างของพีระมิดนั่นเอง

ประเด็นที่ 4 ศาสตราจารย์แอล ตูเรนเน นักวิศวกรชั้นนำฝรั่งเศษได้กล่าวไว้ว่า พลังพีระมิดเกิดขึ้นจากลักษณะรูปทรงของมันเอง กล่าวคือรูปทรงของพีระมิด
นั้นจะเป้นสิ่งเร่งพลังแห่งความสัมพันธ์อันเกิดจากพลังงานชนิดต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ที่มาจากดวงอาทิตย์ หรือแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลกมารวมกันเข้า

ประเด็นที่ 5 นักวิทยาสาตร์ขาวดเมริกันบางคนได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า รูปทรงของพีระมิดอาจเป็นรูปพลังงานที่มีลักษณะคล้ายกับเลนส์ขนาดใหญ่
ที่สามารถดึงเอาพลังลึกลับต่าง ๆ ไว้ได้หมดประเด็นที่ 6 เชื่อกันว่า รูปทรงของพีระมิดคล้ายคลึงกับรูปร่างโครงสร้างแบบผลึกที่มีอยู่ภายในโมเลกุลของสสาร
ซึ่งมีคุณสมบัติยึดเกาะเหนี่ยว และเมื่อมันสลายตัวจะก่อให้เกิดพลังงานขึ้นถ ทั้ง 6 ประเด็นนี้ถือได้ว่า เป็นแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการเกิดพลังภายในพีระมิด


การทดลองเกี่ยวกับพลังลึกลับ

1. การทดลองกับเนื้อสัตว์ เวอร์น คาเมรอน นักวิจัยของแคลิฟอร์เนีย แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ทดลอง เกี่ยวกับอำนาจของพีระมิดไว้อย่างน่าทึ่งทีเดียว
การทดลองกับเนื้อหมู เขาได้สร้างพีระมิดจำลองขนาดเล็ก ทดลองกับเนื้อหมูดิบหนักประมาณ 2 ออนซ์ และไขมันดิบอีก 1 ออนซ์ เขาได้วางเนื้อหมูดิบไว้ภายใน
ครอบพีระมิดจำลองโดยได้นำไปวางไว้ในห้องน้ำที่มีอากาศชื้นที่ทำให้เน่าเปื่อยได้ถ เร็วที่สุด ต่อมาเขาได้นำไปไว้ในห้องที่มีอากาศร้อนและมีไอน้ำภายในบ้าน ซึ่งถือ
ว่าเป็นห้องที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและไอน้ำมากที่สุด จากผลการทดลองอย่างใกล้ชิด เวอร์น คาเมรอนได้สังเกตว่า ในตอนช่วงสุดท้ายของวันที่ 3 ปรากฏว่า
มีกลิ่นเหม็นฉุยๆ ออกมาจากเนื้อหมู คล้ายๆ กับจะเน่าเปื่อย แต่พอ 6 วันต่อมา กลิ่นนั้นก็หายไป และเนื้อหมูได้เหือดแห้งไป โดยไม่เน่าเปื่อยเลย สิ่งที่น่าอัศจรรย์กว่านั้นคือ
เนื้อหมูที่วางไว้ใต้ครอบพีระมิดจำลอง โดยได้เก็บไว้ภายในห้องน้ำเป็นเวลานานหลายเดือน เนื้อหมูก็ไม่เน่าเปื่อยสามารถนำมาปรุงอาหารมารับประทานได้อย่างเอร็ดอร่อย
แทบไม่น่าเชื่อทีเดียว

2. การทดลองกับพืช การทดลองกับพันธ์พืช ได้พบว่าเมล็ดที่วางไว้ภายในพีระมิดจำลองก่อนนำไปปลูกจะงอกเร็วมาก มีความแข็งแรงและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าเมล็ดพืชอื่นๆ
ที่ไม่ได้อบไว้ภายในพีระมิดจำลองถ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ได้มีผู้พบความมหัศจรรย์ในการปลูกต้นองุ่นมากมาย พลังพีระมิดช่วยทำให้มันเจริญงอกงามและมีรสชาติดี
ยิ่งขึ้น แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องให้มันเจริญเติบโตโดยกิ่งของมันพัน เกาะ หรือปีนไปตามรางไม้ที่วางไว้ในถ ทิศทางแนวเหนือ-ใต้ที่ถูกต้อง

3. การทดลองกับของเหลว น้ำอมฤตจากพลังพีระมิดอันวิเศษ น้ำทีนำมาทดลองภายในพีระมิดจำลองซึ่ง
โครงสร้างพีระมิดควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะวางภาชนะใส่น้ำขนาดใหญ่บนที่สูงระดับตรงกับความสูง 1 ใน 3 ของพีระมิดได้พอดี ผู้ทดลองได้พบว่าปริมาตรความจุ
ของน้ำ 1 ควอร์ท (ในอังกฤษ เท่ากับ 1.1364 ลิตร ในอเมริกา เท่ากับ 0.9463 ลิตร) ควรจะวางไว้ภายในพีระมิดจำลองอย่างน้อยที่สุด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปใช้
แต่ก็มีผู้ทดลองเป็นจำนวนมากได้รายงานว่า เพียง 8 ชั่วโมงเท่านั้น ก็สามารถนำไปใช้ได้น้ำไม่ใช่ของเหลวเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถรับเอาพลังลึกลับของพีระมิดได้ น้ำนม
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำซุป ภายหลังจากที่ทดลองใส่ลงไปภายในภาชนะที่เก็บไว้ภายในพีระมิดแล้ว 24 ชั่วโมง ปรากฏว่าของเหลวดังกล่าวนี้กลับมีรสชาติดีกว่า
ปกติเสียอีก


--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : สังคม ฮอหรินทร์, ล่องน้ำไนล์, (กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า, 2541)


โดย : นาย kirapak pakongsap, ripw klongluang patumani 13180, วันที่ 29 มกราคม 2545