เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาแพทย์

โรเบิร์ต ค็อค แพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ค้นพบเทคนิคใหม่ ๆ ในการหาสาเหตุของโรคซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาโรคในปัจจุบัน
ที่เกิดขึ้นกับแกะ และพบว่าเกิดจากเชื้อโรคที่มีรูปร่างเป็นแท่งกลมยาว แต่ยังไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้มากนัก ค็อคจึงสนใจศึกษาต่อค็อคเพาะเลี้ยงเชื้อโรคแอนแทรกซ์ในอาหารเลี้ยงเชื้อบนสได์ พบว่าเชื้อโรคนี้เจริญเป็นสายยาว รูปร่างเป็นรูปไข่โปร่งแสง และมีสปอร์ที่อยู่ในระยะฟักตัว (ยังไม่เจริญเติบโต) สปอร์นี้จะอยู่ได้นายหลายปี และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่ออยู่ ในสภาพเหมาะสม แล้วพัฒนาเป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งกลม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ ดังนั้นในทุ่งหญ้าที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์มานาน อาจทำให้เกิดโรคค็อคทดลองฉีดเชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคเข้าไปในเร่างกายของสัตว์หลาย ๆ ชนิด เพื่อให้ผลิตแบคทีเรียเหมือนที่ฉีดเข้าไป จากการศึกษาเขาพบว่าสัตว์ชนิดต่างด ๆ จะมีอาการของโรคแตกต่างกัน และร่างกายของสัตว์ เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงแบคทีเรียให้บริสุทธิ์ได้ดี พบเทคนิคการแยกเชื้อโรค
เมื่อค็อคทำงานเป็นนักวิจัยในสถาบันสุขภาพเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน เขาได้สร้างห้องทดลองแบคทีเรียขึ้น แลค้นพบวิธีแยกเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคออกมาได้ แล้วนำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อในหลอดทดลอง เพื่อหาสาเหตุของโรค รวมทั้งปรับปรุงวิธี ย้อมสีแบคทีเรียเพื่อดูลักษณะของมัน
ศึกษาวัณโรคค็อคนำเทคนิคการแยกเชื้อมาใช้ศึกษาวัณโรค จนกระทั่งปี พ.ศ. 2425 เขาสามารถแยกเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคได้สำเร็จ เขาสามารถสกัดสารมีลักษณะเป็นของเหลวชื่อ ทูเบอร์คูลิน (tuberculin) จากแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ ซึ่งช่วยตรวจสอบได้ว่าเป็นหรือเคย เป็นวัณโรคมาก่อนหรือไม่
ขณะที่ค็อคกำลังศึกษาวัณโรคอยู่เกิดอหิวาต์ระบาดในอียิปต์และกำลังแพร่สู่ยุโรป เขาได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเยอรมันให้ไปตรวจสอบ ถึงแม้เขาจะรู้ว่าสาเหตุของโรคมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายจุดลูกน้ำ แต่ก็ไม่สามารถหยุดการระบาด ของโรคได้ เขาไปอินเดียอีกเพื่อตรวจสอบอหิวาต์ระบาด และได้ค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอหิวาต์ และพบว่าเชื้อนั้นติดต่อกันทางน้ำดื่ม อาหารและเสื้อผ้า ค็อคยังศึกษาโรคที่เกิดกับมนุษย์และสัตว์อีกหลายโรค เช่น โรคเรื้อน โรคไวรัสในสัตว์เลี้ยง โรคกาฬที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม ไข้เท็กซัส และมาลาเรียซึ่งเขาหาสาเหตุได้ว่าเกิดมาจากยุง
ชีวิตของโรเบิร์ต ค็อค




โดย : นางสาว POTJANEE KETMAI, Praatunam pra-in Post office 13180, วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545