พีระมิดแห่งแรกบนแผ่นดินฟาโรห์


จากหลุมฝังพระศพแบบมาสตาบา (หลุมทรายที่ขุดเป็นรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และกลบปิดหลุมก่อ ให้สูงขึ้น) ชาวอียิปต์ได้วิวัฒนาการแนวความคิด ก่อเป็นมาสตาบาซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ และลดหลั่นกันตาม ลำดับ กลายเป็นโครงสร้างพีระมิดขึ้นมาเป็นแห่งแรก และจัดว่าเป็นอนุสาวรีย์หินอันมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นั่นคือ พีระมิดแบบขั้นที่เมืองซัคคารา



พีระมิดแบบขั้นนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยฟาโรห์โซเซอร์ กษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์ที่ 3 (เมื่อประมาณ 2686-2613 ก่อนคริสตกาล)
พีระมิดแบบขั้น จัดว่าเป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งแรกที่เป็นแบบอย่างวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมจากการก่อสร้างด้วยอิฐและไม้ในสมัยแรกมาเป็นการก่อสร้างด้วยหิน
กล่าวกันว่าผู้ออกแบบก่อสร้างคือ อิมโฮเท็ป สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น ชาวอียิปห์ยกย่องอิมโฮเท็ป ไม่เพียงแต่จะเป็นสถาปนิกชั้นยอดเท่านั้น ยังเป็นบิดาแห่งการแพทย์ นักดาราศาสตร์ และนักบุญผู้วิเศษที่ยิ่งใหญ่แห่งชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งแม้แต่ชาวกรีกในสมัยนั้นยังยกย่องอิมโฮเท็ปว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์โบราณของพวกเขาอีกด้วย
สถานที่หรือบริเวณที่อิมโฮเทป ได้เลือกเป็นที่ก่อสร้างพีระมิดแบบขั้นก็คือ บริเวณเนินดินที่สูงแห่งเมืองซัคคารา ปกคลุมเนื้อที่ยาวประมาณ 1,800 ฟุตและกว้างประมาณ 1,000 ฟุต ด้านที่ยาวที่สุดหันไปตามแนวทิศเหนือ-ใต้
ลักษณะที่สำคัญของพีระมิดแบบขั้นแห่งนี้ก็คือ เป็นพีระมิดที่มีโครงร่างคล้ายคลึงกับพีระมิดที่พบในประเทศเปรูและเม็กซิโกมากที่เดียว
พีระมิดแบบขั้นนี้เดิมสร้างครอบมาสตาบาเพียง 4 ขั้นเท่านั้น ต่อมาได้เพิ่มเป็น 6 ขั้นชั้นนอกสุดฉาบด้วยหินปูนอย่างดีจากเมืองตูรา
ลักษณะการก่อสร้างโครงสร้างสร้างด้วยหินทึบตันขนาดใหญ่ ก่อตัวซ้อนกันขึ้นไป 6 ขั้น ความสูงวัดจากพื้นฐานถึงยอดประมาณ 200 ฟุต ลักษณะพื้นฐานเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกยาว 411 ฟุต และวัดจากด้านเหนือสุดลงไปถึงทางใต้สุดของฐานยาว 358 ฟุต บริเวณใจกลางภายในโครงสร้างพีระมิดแบบขั้น จะเป็นมาสตาบาสูง 26 ฟุตแต่ละด้านยาว 207 ฟุต ก่อด้วยหินปูนธรรมดา แต่ชั้นนอกฉาบด้วยหินปูนขาวจากเมืองตูรา



โดย : นางสาว กันต์กมล เพาะผล เลขที่ 26, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 11 พฤศจิกายน 2544