ตำนานของทวีปแอนตาร์กติกา

ในปี พ.ศ. 2056 เปริ อิบอิน ฮายิ เมมเมด เจ้าหน้าที่ประจำกองทัพเรือตุรกี ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม
เปริ เรอิส ได้สั่งให้นักเขียนแผนที่ทำการเขียนแผนที่ของมหาสมุทร อัตลันติก และพื้นที่รอบๆ มหาสมุทรขึ้นมาแผ่นหนึ่ง ซึ่งในเวลาต่อมา แผนที่ชิ้นนี้ได้อันตรธานหายไป จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2572 ได้มีการค้นพบแผนที่ชิ้นนี้ ในที่เก็บเอกสารของจักรวรรดิตุรกีใน คอนสแตนติโนเปิล นับถอยหลังไปเพียง 21 ปี หลังจากที่ โคลัมบัส ได้ค้นพบทวีป อเมริกา ถือได้ว่า แผนที่ชิ้นนี้เป็นแผนที่ที่มีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากที่สุดในยุคต้นของโลกใหม่ การบรรยายบนแผนที่ฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า แผนที่ของเปริ เรอิส ถูกใช้เป็นหลักฐานสำหรับการร่างแผ่นที่แบบตะวันตก ซึ่งโคลัมบัสได้นำมาใช้ระหว่างการเดินทางครั้งแรกของเขา มันเป็นหลักฐานชิ้นแรกซึ่งมีแผนที่ชิ้นอื่นๆ ก่อนหน้านี้ และสนับสนุนความคิดของบรรดานักวิจัยค้นคว้า ซึ่งโคลัมบัสได้เรียนรู้และนำออกมาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น การอธิบายอื่นๆ ในแผนที่ฉบับนี้ยังอ้างถึงเจ้าหน้าที่ของตุรกีที่ได้ปรึกษาหาความรู้จากแผนที่ที่มีอายุเก่ากว่า ซึ่งบางชิ้นมีอายุอยู่ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช





แผนที่ฉบับนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่า ทวีปแอนตาร์กติกที่ยังไม่มีใครค้นพบนั้นได้ถูกร่างเป็นแผนที่ขึ้นมาด้วยฝีมือมนุษย์ของมนุษย์บางคนเมื่อหลายพันปีมาแล้วก่อนหน้าที่แผนที่ฉบับนี้จะถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2363 เสียอีก และสัดส่วนที่ถูกต้องในพื้นที่ต่างๆของอัฟริกา และทางตะวันออกของอเมริกาใต้ ทางตอนใต้ปลายสุดของอเมริกาใต้ ปรากฏเส้นแผนที่ของเส้นฝั่งทะเลอื่นๆ ซึ่ง ชารลส์ แฮพกูด นักเขียนแผนที่ และนักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า เส้นแผนที่ต่างๆที่เห็นนี้ เป็นเส้นแผนที่ของชายฝั่งทะเล และภูเขาของทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งปรากฏว่ามันมีอยู่จริง แต่ทว่า จมอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง


ซึ่งนับเป็นเรื่องเหลือเชื่ออย่างมาก สำหรับแผนที่ที่เขียนขึ้นโดยมนุษย์สมัยโบราณ เนื่องจากแผนที่ฉบับนี้ถูกวาดโดยใช้รูปทรงกลมแบบเรขาคณิต และปรับเปลี่ยนไปเป็นเส้นโค้งรอบโลกเป็นเวลาหลายพันปีก่อนหน้าที่จะมีการใช้เส้นแวง และในช่วงที่เริ่มรู้จักกันดีแล้วว่า ทวีปแอนตาร์กติกา นั้นเป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ ที่ลอยตัวอยู่อย่างอิสระประมาณ 8000 – 10000 ปีก่อนคริสตกาล คำอธิบายเกี่ยวกับแผนที่ฉบับนี้ก็เริ่มมีออกมามากขึ้นหลายกระแสด้วยกัน ซึ่งรวมถึงทฤษฎีที่ว่า แผนที่ฉบับนี้ถูกร่างขึ้นมาด้วยฝีมือของมนุษย์จากต่างดาว ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนโลกมนุษย์


โดย : นางสาว มิ่งขวัญ แก้วบำรุง, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 11 พฤศจิกายน 2544