เหตุการณ์ รศ. 112

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศษยึดกัมพูชาและเวียตนามเอาไว้ได้ และกำลังจะเข้ามายึดครองลาวเป็นประเทศต่อไป แต่เนื่องจาก ในขณะนั้น ลาวยังเป็นดินแดนในอาณัติของรัฐบาลไทย โดยทางรัฐบาลไทยได้ส่งพลตรีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมให้ขึ้นไปตั้งกองบัญชาการลาวพวนอยู่ที่เมืองหนองคายและมีพระยอดเมืองขวัญรักษาการณ์อยู่ที่เมืองคำมวน ซึ่งฝรั่งเศสอ้างว่าดินแดนลาวเคยเป็นของเวียตนามมาก่อน (เจ้าอนุวงศ์เคยทำสัญญายกเมืองลาวให้เวียดนามเพื่อขอลี้ภัยการเมือง ในคราวที่เจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ 3) เมื่อเวียตนามเป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศสแล้ว จึงสมควรที่ลาวต้องเข้ามาอยู่ในอาณัติของฝรั่งเศษด้วย ฝรั่งเศษจึงบุกเข้ายึดเมืองคำมวนและจับพระยอดเมืองขวัญกับพวกเอาไว้ แต่มีทหารมา ช่วยพระยอดขวัญกับพวกเอาไว้ได้ และได้ฆ่าทหารฝรั่งเศสตายเกือบหมด เหลือรอด กลับไปเพียง 3 คนหลัง จากนั้นพระยอดเมืองขวัญและรัฐบาลไทยก็ได้ทำหนังสือประท้วงไปยังฝ่ายฝรั่งเศษ แต่ก็ไม่ได้ผล ฝรั่งเศษกลับกล่าวหาว่าไทย เป็นผู้รุกรานโดยพระยอดเมืองขวัญพร้อมทหารและอาวุธครบมือบุกเข้าไปยังเขตยึดครองของฝรั่งเศษ การที่ฝรั่งเศสจับพระยอดเมืองขวัญ นั้นชอบแล้ว วันที่ 13 กรกฎาคม 2436 ฝรั่งเศษจึงส่งเรือรบ 2 ลำเข้ามาทางปากแม่น้ำ ทางรัฐบาลไทยได้ทำการประท้วง แต่ฝรั่งเศษก็ทำเฉย จึงเกิดการยิงกันขึ้นที่ป้อมพระจุลฯ. เป็นผลทำให้ฝ่ายไทยตาย 15 คน และฝ่ายฝรั่งเศสตาย 2 คน ในที่สุด เรือรบฝรั่งเศษก็แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ และจอดทอดสมออยู่ที่หน้าสถานฑูต วันที่ 2 ก.ค. 2436 ฝรั่งเศษยื่นคำขาดให้รัฐบาลไทย ยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตน โดยให้เวลาที่ไทยจะต้องตอบภายใน 24 ชม. เมื่อฝรั่งเศษไม่ได้คำตอบ ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2436 ฝรั่งเศสจึงสั่งให้เอกอัคราชฑูตออกจากประเทศไทย สุดท้ายเพื่อเป็นการรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้ ฝ่ายไทยจึงต้องยอมตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศษในวันที่ 3 ตุลาคม 2436 ซึ่งในสนธิสัญญามีรายละเอียดดังนี้ คือ ไทยจะยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมดที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลดหรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้น ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส ,ไทยจะไม่มีเรือรบไปไว้ หรือใช้ดินแดนในทะเลสาป หรือลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดกันไว้แล้ว ,ไทยจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบอง และเสียมเรียบ ,การป้องกันเมือง หรือเขตที่กำหนดในข้อ 3 สามารถทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ,ไทยและฝรั่งเศษจะทำสัญญาการค้าในเวลา 6 เดือนนับจากนี้ และไม่เก็บภาษีระหว่าางกัน ,ในการสร้างท่าเรือหรือกิจกรรมต่างๆ ตามลำแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าฝรั่งเศษร้องขอความช่วยเหลือเช่น การใช้พื้นที่ ไทย จะไม่ปฏิเสธและจะให้ความช่วยเหลือ ในทันที ,ไทยจะให้ความสะดวกแก่คนในบังคับฝรั่งเศษในการเข้าออกไปมาในเขตที่ได้มีการกำหนดในข้อ 3 ,ฝรั่งเศษสามารถตั้งกงศุลได้ตามที่เห็นสมควร ,ถ้ามีความเห็นหรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในสัญญาฉบับนี้ ให้ถือเอาภาษาฝรั่งเศสป็นหลัก สัญญานี้ ให้มีผลบังคับใช้ใน 4 เดือน นอกจากสัญญาดังกล่าว ยังมีภาคผนวกต่อท้ายมาด้วยคือ ไทยต้องถอนกำลังออกไปจากพื้นที่ภายใน 1 เดือน ,ไทยต้องรื้อค่ายออกไปให้หมดด้วย ผลจากสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิในการปกครองลาวตั้งแต่บัดนั้น รวมทั้งบรรดาเกาะแก่งทั้งหลายที่มีใน แม่น้ำโขง แม้จะห่างจากฝั่งไทยเพียง 1 เมตร ก็ให้ถือว่าเป็นดินแดนของลาวจนถึงปัจจุบัน กรมหลวงประสิทธิ์ศิลปาคมจึงต้องย้ายกอบัญชาการลาวพวนลงมาอยู่ที่เมืองอุดรธานีนับตั้งแต่บัดนั้น นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังได้เรียกร้องเงินค่าปรับจำนวนหนึ่ง รัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้เงินที่เรียกว่า เงินถุงแดง มอบให้กับฝรั่งเศส เงินถุงแดงนี้เป็นเงินซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงได้กำไรมาจากการทำการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับเมืองจีน แล้วพระองค์ได้เก็บเงินเหล่านั้นไว้ในถุงแดง ในคราวเกิดเหตุการณ์ รศ. 112 นี้ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงนำเงินดังกล่าวออกมาเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายฝรั่งเศสรวมกับเงินที่เรี่ยไรจากข้าราชบริพาร รวมเป็นเงินจำนวน 3 ล้านบาท


เหตุการณ์ รศ. 112 . 2545 . [Online] . เข้าถึงได้จาก www.viboon.com



โดย : นางสาว จีระนันท์ ขลุ่ยกระโทก, ripw คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545