พบโครงกระดูกมนุษย์ที่ตรัง

http://www.mcot.net/news.asp?id=6365
พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ตรัง

--------------------------------------------------------------------------------

ตรัง ๑๙ ก.พ.- พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่เขานาเหนือ อำเภอปะเหลียน เบื้องต้นเชื่อเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ แต่ยังไม่รู้อายุที่แน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
มีการสำรวจพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ๑ โครง ที่หมู่ ๔ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยเป็นโครงกระดูกที่ยังมีความสมบูรณ์มาก แต่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีอายุประมาณเท่าใด เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของหน่วยศิลปากรที่ ๑๒ ภูเก็ต และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขานาเหนือไม่ได้รับการอนุญาตให้ทำอุตสาหกรรมเหมืองหิน แม้จากการสำรวจก่อนหน้านี้จะมีสภาพหินที่ใช้สัมปทานได้
นายสุรพล พร้อมมูล ปลัดอาวุโสปะเหลียน และนายจเร บัวแดงดี ศึกาษธิการอำเภอปะเหลียน พร้อมเจ้าหน้าที่ เดินทางไปในพื้นที่เขานาเหลือห่างจากถนนสายตรัง-สตูล ประมาณ ๒ กิโลเมตรและเดินเท้าเข้าไปครึ่งกิโลเมตร พบว่าสภาพพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตและหินอ่อน สามารถนำไปก่อสร้างถนนและทำอุตสาหรรมเหมืองหินได้
นอกจากนี้ โดยรอบภูเขายังเป็นสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพารา ส่วนจุดที่พบโครงการะดูก
มนุษย์โบราณมีร่องรอยของการถมดินและมีการนำตาข่ายมารองหลุมไว้เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรชุดสำรวจที่ได้จัดทำไว้ และจุดที่พบโครงกระดูกยังเป็นเพิงหน้าผาสูงประมาณ ๕๐ เมตร เชื่อว่าน่าจะเป็นจุดหลบแดดหลบฝนของมนุษย์ยุคก่อน หรือเป็นที่อยู่อาศัยของเงาะป่าซาไกเจ้าถิ่น เพราะยังอยู่ใกล้เคียงกับเทือกเขาบรรทัด แต่ต่อมาช่วงหลังมีการเข้ามาจับจองพื้นที่ราบบริเวณนี้โดยคนเมือง
นายจเร กล่าวว่า ได้จัดทำโครงการสำรวจโบราณสถานและโบราณวัตถุ รวมทั้งศิลปะยุคโบราณในอำเภอปะเหลียนทั้งหมด กระทั่งมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณดังกล่าว จึงบันทึกข้อมูลเหล่านี้ได้ศึกษาที่มา และสอบถามจากคำบอกเล่าของผู้คนอายุมากที่อยู่ในพื้นที่ หากข้อมูลดังกล่าวเป็นจริงจะเป็นประโยชน์ยิ่งในอนาคต ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ในฐานะเป็ฯสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
นายสมเกียรติ บุญดาว อุตสาหกรรมจังหวัดตรัง กล่าวว่า เดิมชุดสำรวจพื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหมืองหินได้เดินทางเข้าไปที่เขานาเหนือ เมื่อพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณขึ้นทางกรมศิลปากรจึงขอให้ยกเลิกการให้อนุญาตทำเหมืองหินไว้ก่อน เพื่อจะได้ศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ.-ต.๐๑๑(๔๕๐)





โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545