พระยาพิชัยดาบหัก


ยังมีชาวนาสามีภรรยาคู่หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนประกอบอาชีพอยู่ที่เมืองพิชัย(ครั้นถึงประมาณปลายรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ ) ภรรยาก็ได้กำเนิดบุตรชายผู้หนึ่งและได้ตั้งชื่อว่า"จ้อย"เมื่อจ้อยเติบโตพอที่จะช่วยบิดามารดาทำงานได้จ้อยก็ออกไปเลี้ยงควายในท้องนาเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆที่เป็นลูกชาวนาในละแวกนั้นจ้อยมีนิสัยกล้าหาญโอบอ้อมอารีจึงเป็นที่รักของเพื่อนฝูงซึ่งเป็นเด็กเลี้ยง ควายคุณสมบัติดีเด่นของจ้อยก็คือต่อยมวยได้เก่งที่สุดในระหว่างเด็กด้วยกันแต่จ้อยไม่ใช่เด็กเกเรจะชกต่อยก็เพื่อป้องกันตัวหรือช่วยเหลือผู้ที่ถูกรังแกเท่านั้น เมื่อจ้อยมีอายุพอสมควรที่จะเล่าเรียนหนังสือบิดามารดาก็ปรึกษากันจะพาไปฝากไว้กับพระการนำเด็กไปฝากในสมัยนั้นก็เท่ากับไปเข้าโรงเรียนในสมัยนี้คือ ต้องไปกินอยู่หลับนอนที่วัดในการที่บิดามารดาต้องการให้จ้อยได้เรียนหนังสือนับว่าเป็นการเสียสละอย่างมากเพราะต้องขาดผู้ช่วยทำงานทางบ้านและ ท้องนาบิดามารดาของจ้อยมีบุตร๔คนแต่ตายเสียสามคนจึงเหลือแต่จ้อยผู้เดียวสำหรับตัวจ้อยเองไม่สมัครใจที่จะต้องจากบ้านเพื่อไปเรียนหนังสือจึงบอกกับ บิดาว่าไม่อยากเรียนหนังสือถ้าจะให้มีวิชาก็อยากไปเรียนต่อยมวยมากกว่าแต่บิดาของจ้อยอยากให้ลูกเป็นคนมีวิชาความรู้จึงชี้แจงว่าการรู้หนังสือเป็น ของจำเป็นอย่างยิ่งผู้รู้หนังสือจนอ่านออกเขียนได้แล้วก็สามารถเรียนวิชาอื่นๆได้ดีกว่าคนไม่รู้หนังสือจ้อยมีความปรารถนาอยากเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงจึงเชื่อ บิดายอมไปอยู่กับพระที่วัดเพื่อเรียนหนังสือบิดาพาจ้อยไปฝากไว้กับพระครูวัดมหาธาตุเมืองพิชัยท่านพระครูมีเด็กที่พ่อแม่นำมาฝากเรียนหนังสืออยู่หลายคน มีอายุต่างๆกันการเป็นอยู่คล้ายกับเด็กซึ่งอยู่ตามโรงเรียนประจำคือกินนอนเรียนและทำงานร่วมกันฉะนั้นเมื่อมีเด็กแปลกหน้าเข้ามาเด็กเก่าก็มักจะเพ่งดูนิสัย ถ้าเข้ากันได้ก็ดีไปถ้าเข้ากันไม่ได้เด็กใหม่ก็มักจะต้องเดือดร้อนคณะศิษย์เก่าจึงวางแผนการทดลองความอดทนหรือในสมัยใหม่นี้เรียกว่า"การต้อนรับน้องใหม่" ทุกๆครั้งที่รับประทานอาหารร่วมกันพวกศิษย์เก่าจะแกล้งยกชามแกงขึ้นตักรับประทานแล้วส่งต่อๆกันไปรอบๆวงโดยไม่ให้จ้อยมีโอกาสตักบ้างเลยการรับประ ทานอาหารแบบนี้ภาษาศิษย์วัดเรียกว่า"แกงเหาะ"จ้อยอดทนเอาเพราะเป็นคนมาใหม่แต่เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆจนรกลายเป็นท้าทายไปจ้อยก็จำเป็นต้องแสดงฝีมือ ให้รุ่นพี่่เห็นฤทธิ์เสียบ้างฝีมือมวยของจ้อยเหนือฝีมือ"มวยวัด"มากพวกศิษย์เก่าไม่กล้ารังแกจ้อยอีกจ้อยเป็นเด็กมีสติปัญญาดีจึงเรียนหนังสือเก่งกว่าเด็กรุ่นราว คราวเดียวกันนอกจากนี้ยังมีความประพฤติดีและขยันหมั่นเพียรเมื่อพ่นเวลาเรียนหนังสือและรับใช้ท่านพระครูแล้วจ้อยก็ฝึกฝนตนเองให้คล่องแคล่วโดยเอาต้น กล้วยมาตั้งไว้บนดินแล้วใช้เท้าขวาเตะต้นกล้วยด้วยความรวดเร็วจนต้นกล้วยไม่ล้มถึงดินเมื่อคล่องแคล่วแล้วก็ทวีความสูงของต้นกล้วยขึ้นไปอีกเร่มตั้งแต่ต้น กล้วยสูง ๒ ศอกจนสูงถึง ๔ ศอกขั้นต่อไปก็เอามะนาวผูกเชือกจากที่สูงห้อยลงมาเสมอหน้าชั้นแรกใช้มะนาวเพียง๒ผลชกให้แกว่งไปมาแล้วปิดรับด้วย ศอกและแขนจนไม่ถูกหน้าได้ครั้นแล้วเพิ่มขึ้นเป็น๓ถึง๔ผลด้วยความพากเพียรในการฝึกซ้อมจ้อยจึงมีฝีมือในการชกมวยดีขึ้นเป็นลำดับโดยที่ไม่เรียนวิชามวย จากครูมวยเลยจ้อยอยู่กับท่านพระครูที่วัดมหาธาตุนี้จนมีอายุประมาณ ๑๔ ปีถึงแม้จะไม่มีใครกล้ารังแกจ้อยแต่ก็มีพวกศิษย์วัดเก่าๆ


โดย : นาย วิชิตย์ อินมูล, น้ำริดวิทยา, วันที่ 16 เมษายน 2545