เฮ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์


เฮ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์ ผู้ทำนายปรากฎการณ์ดาวหางฮัลเลย์
เฮ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2199 ถึงแก่กรรม 14 มกราคม พ.ศ. 2285
ฮัลเลย์ เป็นบุตรของพ่อค้าสบู่ผู้มั่งคั่งของกรุงลอนดอน เกิดในช่วงที่วงการวิทยาศาสตร์กำลังเปลี่ยนไปสุ่แนวความคิดสมัยใหม่ ฮัลเลย์เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์พอล จนอายุ 17 ปี จึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยควีนของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและเริ่มสนใจด้านดาราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา เมื่ออายุ 20 ปี เขามีโอกาสพบกับจอห์น แฟลมสตีด นักดาราศาสตร์หลวงของอังกฤษและได้รับการสนับสนุนให้การศึกษาด้านดาราศาสตร์
เมื่อฮัลเลย์ทราบว่า แฟลมสตีดได้สำรวจดาวบนซีกฟ้าเหนือและทำเป็นแผนที่ดาวไว้ แต่ยังไม่มีใครสำรวจดาวบนซีกฟ้าใต้ เขาจึงสนใจที่จะทำแผนที่ดาวของซีกฟ้าใต้บ้าง ฮัลเล่ย์ตัดสินใจลาออกจากวิทยาลัยทันทีทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รับปริญญาเพื่อสำรวจดาวบนซีกฟ้าใต้โดยได้รับเงินสนับสนุนจากพ่อของเขาและกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 2 เขามุ่งหน้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนาซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ไปกับเรือของบริษัทอีสต์อินเดียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2219 ฮัลเล่ย์ทำแผนที่ดาวของซีกโลกใต้สำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 2 ปี เขาลงตำแหน่งละติจูดและลองติจูดของดาวไว้ถึง 341 ดวง เขามีชื่อเสียงมากเมื่อนำผลงานออกมาเผยแพร่และได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของราชสมาคมและได้รับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด




ค้นพบความจริงของดาวหางฮัลเลย์
ฮัลเลย์ได้รวบรวมข้อมูลและคำนวณวงโคจรของดาวหางไว้ 24 ดวง ที่เคยปรากฎระหว่างปี พ.ศ. 1880 – 2241 เขาพบว่าดาวหาง 3 ดวงที่มาปรากฎในปี พ.ศ. 2074 พ.ศ. 2150 พ.ศ. 2225 มีลักษณะวงโคจรคล้ายกันมาก จึงลงความเห็นว่าเป็นดาวหางดวงเดียวกันและคำนวณไว้ว่าจะกลับมาให้เห็นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2310
ปลายปี พ.ศ. 2301 ดาวหางดวงนี้ก็กลับมาให้เห็นจริงตามคำทำนายของฮัลเลย์ ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว 16 ปี
ชื่อดาวหางฮัลเลย์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ฮัลเลย์ ผู้คำนวณการปรากฎของดาวหางดวงนี้และเป็นคนแรกที่รู้ว่า แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลของสารที่ดวงอาทิตย์กระทำต่อดาวหางทำให้ดาวหางเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์ ดาวหางฮัลเลย์กลับมาให้เห็นอีกในปีพ.ศ. 2378 พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2529 เป็นดาวหางที่มีความสว่างมากและเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์รอบละประมาณ 75 – 76 ปี
ผลงานช่วงที่ฮัลเล่ย์เป็นนักดาราศาสตร์หลวง
 ค้นพบว่าดาวฤกษ์ไม่ได้อยู่กับที่แต่มีการเคลื่อนที่อย่างอิสระ
 บันทึกตำแหน่งของดวงจันทร์จนครบรอบ 19 ปี
 เสนอวิธีวัดระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์ โดยสังเกตปรากฎการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี พ.ศ. 2304 และพ.ศ. 2312 จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเป็นความจริง
 นอกจากนี้ยังมีผลงานอีกหลายด้าน เช่น ตีพิมพ์แผนผังลมฟ้าอากาศฉบับแรกของโลก ทำแผนที่สนามแม่เหล็กโลก ศึกษาเรื่องลูกเห็บ อธิบายปรากฎการณ์ในบรรยากาศของโลก เช่น แสงเหนือ การเกิดรุ้ง



โดย : นาย อภิเดช ลีนานนท์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 21 พฤศจิกายน 2544