เหตุการณ์ 14 ตุลา

เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฝ่ายรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราาบปราม ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต เกิดการนองเลือดในวันที่ ๑๔ ตุลาคมพ.ศ. ๒๕๑๖ มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก มีการเผาทำลายอาคารสถานที่และยานพาหนะของทางราชการ แต่ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงแก้ปัญหา เหตุการณ์จึงสงบโดยจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีในเวลานั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อฟื้นฟูระเบียบของบ้านจเมืองประสานสามัคคีให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ มีรัฐบาลบริหารประเทศหลายคณะ แต่ต่างก็เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้แก่ รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (ก.พ.๒๕๑๘) รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (มี.ค. ๒๕๑๘ -ม.ค. ๒๕๑๙) ต่อมามีการเลือกตั้งใหม่ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นนายก รัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง แต่ก็ยังมีการประท้วงเรียกร้องของกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดคณะทหารก็ยึดอำนาจในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เรียกคณะของตนว่า "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี
การบริหารงานของรัฐบาลนายธานินทร์ สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนและขัดแย้งกับทหารในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จนในที่สุดพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ก็ยึดอำนาจจากรัฐบาลและยุบสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ ต่อมาได้ลาออกและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี





ที่มา : หนังสือเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


โดย : นาง วิภา บุญส่ง, โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ, วันที่ 9 มิถุนายน 2545