ของดีเมืองสุโขทัย

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

                                                    ของดีเมืองสุโขทัย

           สุโขทัยถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ ดังนั้นจึงมีของสวยงามที่สามาถซื้อหาติดไปเป็นที่ระลึกหรือนำกลับไปฝากผู้ที่ไม่ได้มาเที่ยวชมได้ เช่น

            ทองคำ   ในอำเภอศรีสัชนาลัยถือเป็นแหล่งทองโบราณ คำว่า "ทองโบราณ" มิได้หมายถึงทองที่มีมาตั้งแต่โบราณเหมือนเครื่องสังคโลก แต่เป็นทองที่ทำขึ้นในปัจจุบัน จำพวกสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล  ต่างหู  แหวน  เป็นต้น ในการทำทองนี้จะใช้ฝีมือของคนในท้องถิ่น โดยมิได้ใช้เครื่องจักร ทองของอำเภอศรีสัชนาลัยเป็นทองที่มีชื่อเสียงมาก เพราะเป็นงานฝีมือที่แกาะลวยลวยสวยงาม เป็นการทำเลียนแบบเครื่องประดับโบราณตามที่ขุดค้นพบหรือปรากฎอยู่ตามภาพสลักนูนต่ำของโบราณ จึงเรียกว่าทองโบราณ

                                          สร้อยสี่เสาลงยาแบบโบราณ

             สร้อบเป็นเครื่องประดับคอ  มีรูปแบบที่หลากหลายสวยงาม  เช่น  สร้อยสามเสา  สีเสา ห้าเสา หกเสา  แปดเสา  จี้ สร้อยก้านแข็ง  เป็นต้น

                                         กำไล

             กำไลเป็นเครื่องประดับข้อมือ  ประดิษฐอย่างสวยงาม เช่น กำไลหลอด  ข้อมือถักลายเบีย  ลายยี่สิบเสา  ยี่สิบสี่เสา เป็นต้น

                                          เงินโบราณ

             เงินโบราณ เป็นสิ่งที่กระทำขึ้นมาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวภายหลังนี้เอง หลังจากที่ปรับปรุงเมืองเก่าของสุโขทัยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมมากขึ้น ของที่ระลึกสามารถขายได้ดีขึ้น จึงได้ทำเงินโบราณขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างงานให้กับประชาชน และก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี

             ความแตกต่างระหว่างเครื่องเงินโบราณของอำเภอศรีสัชนาลัยกับแหล่งอื่น ๆ อยู่ที่ความปราณีต เป็นงานฝีมือโดยแท้  เพราะการทำลวยลายก็ได้นำเอาลักษณะของการทำทองโบราณมาเป็นแบบอย่าง  ตั้งแต่นำเม็ดเงินมาแปรรูป  ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนออกมาเป็นสินค้า ที่ราคาไม่สูงเกินไปแต่มีคุณค่า

                           ผ้าซิ่นติ่นจากหาดเสี้ยว

             ผ้าทอดหาดเสี้ยว  ชาวบ้านหาดเสี้ยวในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นเชื้อสายของชาวไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว  จึงเป็นกลุ่มชนที่มีฝีมือในการทอผ้าติ่นจกที่สวยงาม เมื่ออพยพมาอยู่บริเวณนี้จึงได้นำเอาวัฒนธรรมการทอผ้าของตนติดตัวมาด้วย และก็ถ่ายทอดให้คนรุ่นลูก รุ่นหลานต่อ ๆกันมาโดยไม่ขาดหายไป

              หลังจากที่สุโขทัยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจึงทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ผ้าทอของหาดเสี้ยวเป็นผ้าทอที่มีความปราณีตสวยงาม

                                      เครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง

              เครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง  แหล่งกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาที่ยังมีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน คือบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศสมัยก่อนทำกันเฉพาะในฤดูว่างจากฤดูทำนา  แต่ในปัจจุบันสามารถยึดเป็นอาชีพได้เพราะสามารถผลิตออกมาได้หลายแบบที่จะนำไปใช้งาน  เช่นกระถางต้นไม้  โอ่งสำหรับโชว์ ของเล่นเด็ก  แจกัน  โคมไฟ  เป็นต้น

             การที่นักท่องเที่ยวได้เข้าชมขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา จึงได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นของที่ระลึก  ทำให้ประชาชนมีรายได้จากเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น

                    ขั้นตอนการเผา

              ในการทำเครื่องปั้นดินเผาจะมีขั้นตอนการเผา ดังนี้

                    1. การตากเครื่องปั้นดินเผา  เป็นการนำเครื่องปั้นไปผึ่งแดดหรือผึ่งรมให้ได้รับแสงแดดเสมอกันทุกด้าน

                   2. การเผาเครื่องปั้นดินเผา โดยเผาแบบเตาสุมนำเครื่องปั้นดินเผาผึ่งแดดไว้ประมาณ  3 - 4  ชั่วโมงให้ร้อนเพื่อให้ภาชนะที่ต้องการเกิดความสวยงาม  จากนั้นก็นำไปเผาทิ้งไว้ข้ามคืนรุ่งเช้าจึงนำเครื่องปั้นหรือภาชนะนั้นออกมาจากเตาเผาด้วยกรรมวิธีดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ควรที่จะเก็บรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป


คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : จากวารสาร การท่องเที่ยวของสุโขทัย

โดย : นาย ฉลาด พันธ์ุแก้ว, โรงเรียนประชาอุทิศ, วันที่ 14 สิงหาคม 2545