สรีรสัทศาสตร์

 

                              สรีรสัทศาสตร์

                สรีรสัทศาสตร์  หมายถึง การศึกษาเสียงของคนที่พูดว่ามีที่เกิดหรือฐานกรณ์อยู่ ณ ที่ใด และเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละเสียงนั้นมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ต้องรู้ส่วนประกอบต่างๆของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียง

     อวัยวะการออกเสียงแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ

     1.) จุดเริ่มต้น ( initiation ) คือส่วนที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของลม

     2.) การออกเสียง ( phonation ) คือเสียงที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

    3.)  การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเสียง ( articulation ) การที่เสียงจะต่างกันไปอยู่กับการเปลี่ยนรูปและขนาดของช่องปากและทางที่ลมออกไปสู่จมูก

          จุดเริ่มต้นที่สำคัญก็คือ ปอด ปอดบีบและขยายตัวได้ขณะที่เราไม่พูด เราหายใจเข้าออกนาทีละ 10-20 ครั้ง แต่ถ้าเราออกกำลังกายปริมาตรของอากาศที่เข้าไปในปอดจะแตกต่างกัน ถ้าเราพูดประโยคยาวๆเราต้องเปลี่ยนอัตราการหายใจเข้าออก หลักการออกเสียงเราสามารถออกเสียงเวลาหายใจเข้าได้

     


คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : หนังสือภาษาศาสตร์

โดย : นางสาว ชนาภรณ์ ทะจักร์, สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 11 กันยายน 2546