ทักษะในการอ่าน

บันลือ พฤกษะวัน. “ ทักษะในการอ่าน. ” วิทยาจารย์. 84,9 ( กันยายน 2529 ) : 7-10.

ทักษะการอ่านจะต้องเข้าในทั้งความหมายและองค์ประกอบของทักษะการอ่าน อันจะได้หาทางส่งเสริมให้เยาวชนในปัจจุบันได้มุ่งสู่แนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น การอ่านแต่เดิมนั้นหมายถึง การแปลสัญญาณให้ออกมาเป็นคำพูด ปัจจุบันการอ่านหมายถึง ความสามารถในการใช้ประโยชน์ของการผสมผสานของตัวอักษรแล้วได้รับความรู้ การสอนอ่านในยุคปัจจุบันจึงเน้นที่จะมุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนมากขึ้น สำหรับทักษะในการอ่านหมายถึง ความคล่องตัวที่จะใช้กรประสมประสานของตัวอักษรโดยผ่านการไตร่ตรองแล้วเก็บเป็นความรอบรู้แห่งตน หรือความคล่องตัวในการใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการอ่านเป็นการฝึกใช้ความคิดในการรับรู้สื่อความหมายที่ผู้เขียนสื่อถึงผู้อ่านกระบวนการอ่านจึงเป็นแนวทางในการค้นคว่าหาความรู้ ความเข้าใจจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขั้นตอนในการฝึกอ่านไปสู่การสร้างทักษะในการอ่าน 1. สามารถเข้าใจสาระสำคัญของสิ่งหรือเรื่องที่อ่านได้ 2. วิเคราะห์และจัดประเภทความรู้ที่ได้จากการอ่าน 3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิม 4. สรุป มโนทัศน์ 5. ทบทวนพิจารณา อุทาหรณ์ 6. คิดย้อนกลับพร้อมอ้างอิง 7. การใช้สำนวน คำคม 8. เกิดอารมณ์เห็นประโยชน์ 9. วิจารณ์ ไต่ตรอง 10. กลั่นกรองเป็นความรอบรู้ จากขั้นตอนในการเสริมสร้างทักษะในการอ่านนี้ขึ้นอยู่กับครูจะใช้วิธีสอนกระตุ้น ส่งเสริมโดยจัดกิจกรรม หากอ่านนับเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการอ่านของเด็กให้ก้าวหน้าไปสู่การใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ครูผู้สอนบกพร่องในความเข้าใจ ผู้เรียนย่อมไม่ได้ประโยชน์จากการอ่าน ขั้นตอนในการฝึกทักษะในการ



โดย : นางสาว แก้วตา ศิริโพแพง, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545