เมืองท่าเหนือในอดีต


เมืองท่าเหนือในอดีต
อุตรดิตถ์แปลว่า “เมืองท่าเหนือ” เนื่องจากในสมัยก่อน พ่อค้าจะนำสินค้ามาจากหลวงพระบาง น่าน หรือเมืองเหนืออื่นๆไปขายทางใต้ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์อยุธยา กรุงเทพฯ หรือสินค้าจากทางใต้จะนำขึ้นเหนือต้องแวะพักกันตามท่าจอดเรือของอุตรดิตถ์ ให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม ตลอดจนการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนต่างๆตามแนวลำน้ำเกิดขึ้น
อุตรดิตถ์เคยเป็นตำบลหนึ่งชื่อ “บางโพท่าอิฐ” ขึ้นกับเมืองพิชัยตั้งอยู่ริมขวาของแม่น้ำน่านและมีความเจริญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นเมืองท่าเรือขนถ่ายสินค้า
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จทางชลมาคและมาถึง “บางโพท่าอิฐ” เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2444 โดยเรือพระที่นั่งได้จอด ณ.บริเวณหน้าวัดวังเตาหม้อ ปัจจุบันคือวัดท่าถนน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองท่าเหนือ” เพราะมีความเจริญขึ้น มีผู้คนมาอาศัยประกอบกับมีการค้ามากขึ้นในขณะที่เมืองพิชัยได้โรยไป เมื่อ พ.ศ. 2457 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ดังนั้นเมืองอุตรดิตถ์จึงเป็น จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2539 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ริมน้ำน่านและกระทำพิธีอัญเชิญขึ้น ณ แท่นชัยประดิษฐานอยู่จนทุกวันนี้



อุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมากขึ้น สามารถใช้เส้นทางรถไฟ รถยนต์ ประชาชนเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างรวดเร็วเมืองอุตรดิตถ์ก็ได้มีความเจริญ
รุ่งเรืองยิ่งขึ้น ซึ่งชาวเมืองต่างก็มีความรักใคร่ สามัคคีกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและได้มีสิ่งที่เชิดหน้าชูตาที่ชาวเมืองอุตรดิตถ์เกิดความภาคภูมิใจมาก
ดังคำขวัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวไว้ว่า
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน
บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก
แต่ละอำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเป็นเอกลักษณ์ให้คนได้รับรู้โดยทั่วกัน ดังปรากฏในแผนที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ดังนี้


นางเสงี่ยม จันทร์หอม โรงเรียนบ้านดารา สปอ.พิชัย สปจ.อุตรดิตถ์
โทร.055- 496001


โดย : นาง เสงี่ยม จันทร์หอม, บ้านดารา, วันที่ 19 เมษายน 2545