เกริ่นนำเรื่องระบบเสียงในภาษาไทย


ระบบเสียงในภาษา
ครูขอเกริ่นนะคะว่าเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งได้แก่



1. เสียงพยัญชนะ (Consonant) : ซึ่งแบ่งเป็น
1.1 เสียงพยัญชนะต้น 44 รูป (อักษรไตรยางศ์หรืออักษร 3 หมู่) ซึ่งแบ่งเป็น
- เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว มี 21 เสียง
- เสียงพยัญชนะต้นผสม หรืออักษรควบ (พยัญชนะ+ร/ล/ว) ยังแบ่งเป็น
อักษรควบแท้(ออกเสียงพยัญชนะ2ตัวพร้องกัน) และ ควบไม่แท้(พยัญชนะควบไม่ออกเสียง หรือแปรเป็นเสียงอื่น) (อ่านต่อในบทความข้างหน้าในเรื่องอักษรควบ)
1.2 เสียงพยัญชนะท้าย หรือ ตัวสะกด มี 9 มาตรา ได้แก่ 1.แม่ ก
กา , 2. แม่ กก (-k) ,3.แม่ กด(-t) ,4. แม่ กบ(-p), 5. แม่ กน(-n) , 6. แม่ กง(-n) , 7. แม่กม(-m) , 8. แม่ เกย (-j) ,9. แม่ เกอว (-w) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มาตราตัวสะกดตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กก ,2.แม่ กด ,3. แม่ กบ, 4. แม่ กน
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กง 2. แม่กม ,3. แม่ เกย ,4. แม่ เกอว
สรุป * ^+^ เสียงพยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง ^+^ *

2. เสียงสระ (vowel) ในภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง แต่ตำราของพระยาอุปกิตติ
ศิลปสาร ให้มีเพียง 24 เสียง(ไม่นับสระเกิน) ซึ่งแบ่งเป็น
2.1 สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี 18 เสียง เป็นเสียงรัสสระ(เสียงสั้น) 9 เสียง และเสียงทีฆสระ (สระเสียงยาว) 9 เสียง
2.2 สระประสม หรือสระเลื่อน เดิมมี 9 เสียง ปัจจุบันลดเหลือ 3 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว
2.3 สระเกิน 8 เสียง ซึ่งเป็นเสียงซ้ำกับสระเเท้และมีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ มีเสียงอำ , ใอ , ไอ , เอา , ฤ , ฤๅ , ฦ , ฦๅ
3. วรรณยุกต์ (tonal mark) มี 4 รูป 5 เสียง ได้แก่ สามัญ ,1. เอก ,2. โท, 3. ตรี , 4. จัตวา ซึ่งวรรณยุกต์สำคัญต่อความหมายมาก
* วรรณยุกต์เปลี่ยนความหมายเปลี่ยนทันที *
เช่น ช้าง มี /ช/ เป็นพยัญชนะต้น ,มีสระ า และมี แม่ กง เป็นตัวสะกด มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียง ตรี



โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 25 เมษายน 2545