การฟัง

                          การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง


ข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารต่างๆที่เราได้รับฟังในชีวิตประจำวัน ย่อมประกอบด้วยข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
การฟังที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องจำแนกได้ว่าข้อความลักษณะใดเป็นข้อเท็จจริงและลักษณะใดเป็นข้อคิดเห็น ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ในการที่จะใช้เป็นหลักฐานหรืออ้างอิงต่อไปอย่างมั่นใจ
ในการฟังส่วนใหญ่นั้นย้อนทบทวนไม่ได้ ฉะนั้นผู้ฟังที่ดีจะต้องมีสมาธิในการฟังและใช้ความคิดติดตามเรื่องราวต่างๆ ให้เข้าใจแจ่มแจ้งเพียงครั้งเดียว การที่เราฟังข่าวสารต่างๆนั้น ถ้าเราสามารถวิเคราะห์โดยแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นได้ก็จะสามารถช่วยให้ประเมินค่าเรื่องที่ฟังได้อย่างเที่ยงตรง
ดังนั้น ก่อนที่เราจะมาแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากข้อความเราควรมาทำความเข้าใจกับคำว่า “ ข้อเท็จจริง “ กับ “ ข้อคิดเห็น “ เสียก่อน
ข้อเท็จจริง คือ ข้อความหรือเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ มีความสมจริง มีหลักฐานเชื่อถือได้ มีความสมเหตุสมผล เช่น ถ้าฝนตกในเวลาที่แดดออก เราจะมองเห็นรุ้งกินน้ำ ข้อความนี้เป็นข้อเท็จจริง เพราะมีความสมจริง เป็นไปได้ พิสูจน์ได้
ข้อคิดเห็น เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก แสดงความคาดคะเน หรือข้อความที่แสดงทัศนของผู้พูดที่สอดแทรกเข้าไปในข้อความที่พูด เพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เช่น ชีวิตที่มีแต่ความสุขเพียงอย่างเดียวเป็นชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายมาก ข้อความนี้เป็นข้อคิดเห็น เพราะเป็นความรู้สึกหรือความคิดเห็นส่วนตัว

 ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙




โดย : นาย ทรงยศ ถีปรี, โรงเรียนทุ่งกะโล่วิทยา, วันที่ 26 เมษายน 2545