อักษรควบหรือพยัญชนะต้นผสม |
|
อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัวที่ควบหรือกล้ำอยู่ในสระเดียวกัน โดยที่พยัญชนะต้นตัวที่สองเป็น ร ล ว ซึ่งแบ่งออกเป็น
|
|
1. อักษรควบแท้ คือ อักษรควบจากพยัญชนะต้น 2 ตัวควบกันหรือกล้ำในสระเดียวกัน ได้แก่ พยัญชนะควบหรือกล้ำกับตัว ร ล ว เมื่อควบหรือกล้ำต้องออกเสียงพร้อมกัน ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น ตัวสะกด และตัวการันต์ ได้ดังนี้
1.1 ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น ครู พลอย ไกว เป็นต้น
1.2 ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด เช่น บุตร สมัคร กอปร สมุทร เป็นต้น
1.3 ทำหน้าที่เป็นตัวการัตน์ เช่น จันทร์ ศาสตร์ พักตร์ เป็นต้น
2 อักษรควบไม่แท้ คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะต้น 2 ตัว ควบ
หรือกล้ำ ในสระเดียวกัน แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือออกเสียงแปรไปเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น เช่น
2.1 ออกเสียงเฉพาะตัวหน้า เช่น จริง สร้าง ศรัทธา สรวล
2.2 ออกเสียงแปรไปเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น เช่น ทรวง ทราย ทรัพย์ พุทรา เป็นต้น
หมายเหตุ
- ถ้า ท กับ ร ควบกันออกเสียงกล้ำกันสนิท นับเป็นอักษรควบแท้ เช่น นิทรา จันทรา
- เมื่อ ห นำ ร/ล/ว ไม่ใช่อักษรควบ แต่เป็นอักษรนำ เช่น หรูหรา ,หวาย ,หลับ ,หลาย
|
โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 26 เมษายน 2545
|