ประโยค

ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 6 ชนิด

1. ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นการ
แจ้งเรื่องราว บอกข่าวต่างๆ เช่น
 ตาของข้าพเจ้ามีอาชีพทำไร่ทำนา
 เมื่อช่างปั้นหม้อเสร็จก็นำไปแกะสลักลวดลาย และนำไปอบในเตาเผา
 มีดาราคนหนึ่งยิงตัวตายในลิฟต์ ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการฆาตกรรม

2. ประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคมีใจตรงข้ามกับประโยคบอกเล่า อันความไม่ตอบสนองต่อผู้ถาม มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบในประโยค
 ผมไม่ได้ขโมยยางลบเขาไปนะ
 เธอไม่สามารถมากินข้าวกับผมได้
 ตาของผมเป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่นักการเมือง

3.ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่ใจความ มักแสดงคำถามอยู่หน้าหรือหลังประโยค มี 2ชนิด
ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบ มักใช้คำว่า อะไร ใด ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด เท่าใด อยู่หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น
 ใครเป็นคนทำกับข้าวไว้ให้
 วันนี้กินอะไร
 เราจะไปเชียงใหม่โดยการเดินทางแบบใด
ประโยคคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบรับ หรือปฏิเสธ มักมีคำว่า หรือ หรือไม่ ไหม
ท้ายประโยค เช่น
 ยางลบก้อนนี้ของคุณหรือ
 คุณไปกินข้าวกับผมได้หรือไม่

4.ประโยคคำสั่ง เป็นประโยคบอกให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้
ประโยคจะมี 2 ลักษณะ คือ
ประโยคสั่งให้ทำ มักใช้กริยาขึ้นต้นประโยค จะใช้คำว่า จง
แต่หากมีประธานขึ้นต้นจะมีคำว่า ซิ นะ หน่อย ต่อท้ายประโยค เช่น
 จงนั่งเร็วๆหน่อย
 เธอพูดดีๆนะ
 จงทำตามที่เธอสั่ง

ประโยคห้าม หรือสั่งไม่ให้ทำ มักละประธาน และใช้คำว่า อย่า ห้าม ขึ้นต้นประโยค เช่น
 อย่าเดินลัดสนาม
 ห้ามทิ้งขยะลงชักโครก
 ห้ามจับปลาฤดูวางไข่


5. ประโยคแสดงความต้องการ เป็นประโยคที่มีใจความแสดงความต้องการ อยากได้ อยากมี อยากเป็น มักมีความว่า ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยค เช่น
 ฉันปรารถนาที่จะบินได้เหมือนนก
 เเม่ต้องการให้ฉันเป็นเด็กดี
 พ่อประสงค์ให้ฉันเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


6.ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต เป็นประโยคมีใจความขอร้อง ชักชวน หรืออนุญาต อาจละประธานไว้ มักมีความว่า ซิ หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค และมีความว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค เช่น
 โปรดอย่าส่งเสียงดังในห้องสมุด
 เราออกไปเดินเล่นงานกาชาดกันดีกว่านะ
 เธอเข้าไปเถอะนะ




โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 26 เมษายน 2545