เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายใช้แบ่งวรรคตอน หรือคั่นข้อความต่างๆ เพื่อเป็นประโยคที่ชัดเจนในการเขียนและอ่านให้ถูกต้อง จึงจะยกตัวอย่างเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมเขียนในภาษาไทย ได้แก่




1. ( . ) เรียกว่า มหัพภาค ใช้เขียนหลังอักษรย่อ เช่น
พ.ศ. ย่อจาก พุทธศักราช ค.ศ. ย่อจาก คริสศักราช
ด.ช. ย่อจาก เด็กชาย ด.ญ. ย่อจาก เด็กหญิง
รร. ย่อมาจาก โรงเรียน ร.ร. ย่อจาก โรงแรม

2. ( ) เรียกว่า นขลิขิต ใช้เขียนอธิบายข้อความเพิ่มเติม เช่น
ด.ช.อดิศัย โพธิ์ทอง (ประธานนักเรียนโรงเรียนวัดนาคนิมิตร)

3. ! เรียกว่า อัศเจรีย์ (เครื่องหมาย ตกใจ) ใช้เขียนหลังคำอุทานบอกอาการ เช่น โอ้แม่เจ้า! ไฟไหม้! โอ้มายก๊อด! ขโมยขึ้นบ้าน!

4. “ ” เรียกว่า อัญประกาศ ใช้เขียนคร่อมคำพูดที่ต้องการเน้น เช่น
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชนิพนธ์ เรื่อง “เงาะป่า”
ที่จัดมาฉายเป็นภาพยนต์การ์ตูนที่โด่งดังทุกวันนี้

5. ______ เรียกว่า สัญประกาศ ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เช่น
- หมายเหตุ ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าก่อนทาผลิตภัณฑ์นี้บนใบหน้า
- ข้อควรระวัง ห้ามทาผลิตภัณฑ์นี้บนเนื้อเยื่อบอบบางบนใบหน้า อาจก่อให้เกิดกาแพ้ง่าย

6. ” เรียกว่า บุพสัญญา ใช้เขียนเพื่อละข้อความที่ซ้ำกัน เช่น
ในสวนบ้านฉันปลูกต้นมะม่วง 10 ต้น
ต้นละมุด 12 ”
ต้นส้ม 5 ”

7. = เรียกว่า เสมอภาค ใช้เขียนคั่นข้อความที่มีความหมายเท่ากัน
มักใช้ในทางคณิตศาสตร์ เช่น 5 + 5 = 10




8. - เรียกว่า ยัติภังค์ ใช้ขีดระหว่างคำที่ต้องการเขียนแยกพยางค์ให้
ห่างกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่า มีความต่อเนื่องเป็นคำเดียว/ประโยคเดียวกัน เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ปะ – วัต – ติ – สาด

9. ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย ใช้เขียนท้ายคำเพื่อย่อคำให้สั้นลง เวลาอ่านต้องอ่าน คำเต็ม แต่ถ้าเขียนไว้ระหว่างตัวเลขจะเป็นการบอก วัน/เดือน ตามแบบจันทรคติ เช่น
โปรดเกล้า ฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กรุงเทพ ฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุตยมหาดิลก ครบนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ (แต่ให้อ่านแค่ กรุงเทพมหานคร ตามการอ่านที่นิยมได้)
๗ ฯ ๑ อ่านว่า วันเสาร์ แรม ๙ค่ำ เดือนอ้าย(เดือนหนึ่ง)



โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 26 เมษายน 2545