วรรณยุกต์(tonal maek)


เสียงวรรณยุกต์ คือเสียงสูงต่ำที่ให้พยัญชนะเดียวกันมีเสียงสูงต่ำต่างๆกัน ทำให้ความหมายต่างกัน (เสียงต่าง คามหมายต่าง) เช่น ขาว ข่าว ข้าว
วรรณยุกต์ไทยมี 4 รูป 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และ จัตวา ซึ่งขอสรุปดังนี้
1. อักษรกลาง
1.1 คำเป็น วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงสามัญ (ผันได้ครบทุกรูปเสียง เป็นอักษรชนิดเดียวที่ใช้ไม้ตรีได้)
1.2 คำตาย วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงเอก
2. อักษรสูง
2.1 คำเป็น วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงจัตวา
2.2 คำตาย วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงโท
3. อักษรต่ำ
3.1 คำเป็น วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงเอก
3.2 คำตาย
3.2.1 สระเสียงสั้น วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงตรี
3.2.2 สระเสียงยาว วรรณยุกต์ไม่มีรูปเป็นเสียงโท

กลวิธีการออกข้อสอบ
ข้อสอบมักลวงด้วยสระเสียงต่ำ ให้จำว่า สระเสียงต่ำต้องลดรูปวรรณยุกต์ลงตามจริง 1 รูป ในทางกลับกันทำให้เสียงวรรณยุกต์มีมากว่ารูป 1 เสียง เสอม เช่น โน๊ตต้องเป็น โน้ต, เสื้อเชิ๊ตเป็น เสื้อเชิ้ต เป็นต้น



โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 2 พฤษภาคม 2545