คำครุ ลหุ


คำครุ (  ) เป็นเสียงหนัก ยาว ซึ่งจะสังเกตุได้จาก


1. พยางค์ไม่มีตัวสะกด (แม่ ก กาที่มีสระเสียงยาว ) เช่น มี – นา
2. พยางค์มีตัวสะกด เป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ เช่น รัก- เธอ –มาก – ไป- เปล่า
คำลหุ ( ) เสียงสั้น เบา ซึ่งจะสังเกตุได้ดังนี้
1. พยางค์ไม่มีตัวสะกด + สระเสียงสั้น เช่น สิ- คะ, นะ-คะ
**** สังเกตุง่ายๆ ถ้ามี อำ ไอ ไอ เอา ซึ่งครูได้เคยเกริ่นแล้วว่าจะมีเสียง /ม/ ,/ย/ และ/ว/ เป็นเสียงตัวสะกดผสมอยู่
แต่ อำ ไม่จำเป็นเสมอไปว่าเป็นครุ แต่อาจจะเป็นลหุก็ได้ เพราะในบางตำแหน่งในพยางค์ที่ต่างกัน เช่น น้ำเปล่า (อ่านว่า น้าม-เปล่า) ซึ่งเป็น ครู แต่ถ้าในคำว่า น้ำแข็ง จะไม่มีใครอ่านว่า น้าม – เข็งเลย แต่จะนิยมอ่านว่า น้ำ – เเข็ง ซึ่งเป็นลหุมากกว่า



โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 2 พฤษภาคม 2545