กลยุทธ์การสอนอ่านไทย(ตอนที่7)

ตอนที่ 7 : การสอนระดับเสียงของคำเป็น-คำตายอย่างง่ายๆ
เนื่องจากบางครั้งเด็กบางคนจะสับสนในการออกเสียงคำที่ประสมสระเสียงสั้น เช่น ยุ ออกเสียงเป็น หยุ ซึ่งปัญหานี้มีแนวทางแก้ไข ดังนี้
1) สอนให้รู้ว่า พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น 3 พวก ( หลักภาษาเรื่องอักษร 3 หมู่ ) โดยสอนด้วยภาษาง่ายๆ และควรทำแผนภูมิที่แบ่งให้เห็นอย่างชัดเจนมาใช้ประกอบการสอน
2) สอนให้รู้ว่า คำที่ประสมสระเสียงสั้นหรือสะกดด้วยแม่ กก กด กบ ( ที่เรียกว่า “ คำตาย “ ) เมื่อไม่มีรูปวรรณยุกต์ จะมีระดับเสียงของคำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางและอักษรสูงเท่ากัน แต่จะแตกต่างจากอักษรต่ำ เช่น กุ ฉุ ยุ , กาด ขาด คาด
ในทางตรงกันข้าม คำที่ประสมสระเสียงยาวหรือสะกดด้วยแม่ กง กน กม เกย เกอว ( ที่เรียกว่า “ คำเป็น “ ) เมื่อไม่มีรูปวรรณยุกต์ จะมีระดับเสียงของคำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางและอักษรต่ำเท่ากัน แต่จะแตกต่างจากอักษรสูง เช่น กา คา ขา , กาน คาน ขาน
ทั้งนี้ควรสอนเรื่องนี้อย่างสั้นๆ ง่ายๆ โดยอาจใช้วิธีการเทียบเสียงของอักษร 3 หมู่ ให้เป็นตัวอย่างก่อนการฝึกอ่านแต่ละบท

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



โดย : นางสาว ศิริพร สิริยากุล, ร.ร.วัดบางเตย, วันที่ 11 พฤษภาคม 2545