เกร็ดความรู้ทางภาษาไทย

***** คุณทราบไหม..? *****

สาสน์(อ่านว่า สาด)กับ สาส์น(อ่านว่า สาน)
ถ้าเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ จะไม่พบคำว่า "สาส์น"แต่จะพบคำว่า "สาสน์" (หน้า ๘๑๘) ซึ่งนิยามไว้ดังนี้
สาสน์ (สาด) น. คำสั่ง คำสั่งสอน : (ป);โดยปริยาย หมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการ จดหมายทางราชการของประธานาธิบดี และลิขิตของพระสังฆราช เ ช่น พระราชสาสน์ อักษรสาสน์ สมณสาสน์
ในพจนานุกรมไม่มีคำว่า "สาส์น" เพราะเป็นคำที่อ่านและเขียนผิดอักขรวิธีไทยของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
ส่วนที่มีการใช้คำว่า "สาส์น" และอ่านว่า สาน คงเนื่องมาจากชื่อหนังสือสาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นหนังสือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงวรรณคดีของไทย คำว่า "สาส์น" นี้จึงติดตาและถูกนำไปใช้ในความหมายว่าจดหมาย
...........................................................................................................................................................
หนังสือเรียนคุณภาพแม็ค ภาษาไทย ๔(เรียบเรียงจากคอลัมน์ ยุทธจักรดงขมิ้น โดยเสฐียรพงษ์ วรรณปก นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒)



โดย : นางสาว ดวงกมล ลีลางามสุวรรณ, โรงเรียนวัดเศวตฉัตร, วันที่ 27 พฤษภาคม 2545