ทำไมเขียนไม่ได้

ทำไมน้า ทั้งๆ ที่รู้เรื่องไวยกรณ์ (grammar) พอสมควรแต่เขียนไม่ได้ ??

คำตอบก็คือ “คุณไม่มีจะเขียนอะไร”

ปัญหานี้อาจจะเป็นปัญหาที่เจอกันค่อนข้างบ่อยสำหรับคนไทย เพราะว่าการศึกษาของเรายังไม่เน้นเรื่องการเขียนมากนัก (เห้อ) ผู้เขียนเองก็เคยเจอ บ่อยเลย แต่ตอนนี้เริ่มมีการพัฒนาโดยการหาทางออกให้ตัวเองแล้ว วันนี้เลยอยากมาแนะ “วิธีหาอะไรมาเขียน” จริงๆ ไม่ได้เอามาจากหลักวิชากงวิชาการอะไรหรอก แต่ว่ามาจากประสบการณ์ตัวเอง เอาหละ เริ่มกันเลยแล้วกัน . . . ออ ลืมไป คำแนะนำนี้เหมาะสำหรับ essay ที่มาในรูปแบบของคำถาม และเวลาเขียนมีเวลาจำกัด เช่น TWE (Test of Written English)

1. ก่อนอื่นเลยอ่านคำถาม เมื่ออ่านจบแล้วก็ “ทำความเข้าใจกับมัน” หลังจากนั้นตอบคำถามด้วยประโยค 1 ประโยคสั้นๆ เช่น คำถามถามว่าอยู่ตามชนบท หรือในตัวเมืองดีกว่า คุณก็ตอบ อาจจะใช้ประโยคง่ายๆว่า "I prefer to live in . . ." (ยังไม่ต้องไปตอบยาวนะ เอาแค่ประโยคเดียวพอ)

2. หลังจากตอบคำถามแล้ว ก็เริ่มหาเหตุผล (คำถามทุกข้อ หรือไม่นั้นก็ 99% ต้องให้ผู้สอบหาเหตุผลมาสนับสนุน) คุณก็ "ลิสต์" เลย เหตุผลที่ 1, 2, และ 3 เอาแค่เหตุผลละสั้นๆ พอนะ เช่น ชอบอยู่ตจว. เพราะว่า 1. ความสงบ (silence) 2. ไม่มีมลพิษ (fresh air) 3. อะไรก็ว่ากันไป (. . .)

3. หลังจากได้แล้ว 3 ข้อ จากนั้นหลัง 3 ข้อนั้นเขียนอธิบายตามที่คุณเข้าใจ ตรงนี้สำคัญมาก - เขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถือหลักว่า "เหลือดีกว่าขาด"

4. จากนั้นมาเริ่มลงมือเขียน "essay" ซึ่งตอนนี้คุณจะรู้สึกว่าเขียนง่ายขึ้น ก็เพราะว่าคุณมีข้อมูลครบหมดแล้ว (ก็คือคุณมีอะไรจะเขียนแล้วนะสิ) . . . ก็เริ่มเลย ย่อหน้าแรก - เขียนบอกไปเลยว่าคุณตอบว่าอะไร (ในกรณีที่ยกตัวอย่างด้านบนคือ "I prefer to live . . . ") . . . ย่อหน้าสอง - ก็เหตุผลที่ 1 / ย่อหน้าสาม - เหตุผลที่ 2/ ย่อหน้า 4 - เหตุผลที่ 3 . . . จากนั้นก็มาที่ย่อหน้าสุดท้าย (conclusion) โดยปกติแล้ว โดยเฉพาะการเขียนแบบนี้การสรุปที่ทำง่ายๆ คือการทวนซ้ำอีกครั้งที่คุณเขียนมา (แต่สำหรับการเขียนระดับสูงที่ไม่พูดถึงตรงนี้ conclusion มักจะไม่เป็นการกล่าวซ้ำที่เขียนมาแล้ว)

5. หลังจากเขียนเสร็จก็ตรวจทานด้านไวยกรณ์และการสะกดคำ (ตรงนี้เมื่อคุณมีความรู้ด้านไวยกรณ์ดีพอสมควร มันคงไม่ยาก) แล้วก็ดูว่า โดยรวมๆ มันดูเข้าท่าเข้าทางไหม อ่านแล้วสะดุดไหม ลื่นไหลดีไหม หลัจากแก้ไปจนคิดว่าดีแล้ว ก็เป็นอันเสร็จ

วิธีที่แนะนำไปจะเป็นการวิธีการแก้ปัญหาที่ดีวิธีนึง และเป็นวิธีที่คนไทยหลายๆ คนมองข้ามและไม่ค่อยจะพูดถึง ส่วนใหญ่จะเน้นให้นักเรียนเขียน introduction, body, conclusion ผู้เขียนรู้สึกงงว่า แล้วนร.คนไหนจะเขียนได้เนี่ย ไอ้ introduction, body, conclusion ถ้าคนๆ นั้น “ไม่มีอะไรจะเขียน” . . .

w-bpf



โดย : นาย เกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัย, อดีตนร. รร. ศรีพฤฒา, วันที่ 4 มิถุนายน 2545