อ่านบทความอังกฤษแล้วไม่เข้าใจ

“เวลาอ่านบทความ มันนึกเป็นสำเนียงไทยอ่ะ แล้วพอประโยคยาวๆมันต้องอ่านหลายรอบถึงจะเข้าใจว่าอะไรขยายอะไร งงๆอ่ะ ทำยังไงดี อยากอ่านให้เข้าใจไปเลยไม่ต้องกลับไปอ่านซ้ำอีก แล้วคนที่เค้าอ่านโดยไม่ต้องเปิดดิกเนี่ย เค้าเดาความหมายหรือเรียนความหมายได้ยังไงอ่ะ อิจฉามาก อยากเก่งภาษาอังกฤษทำไงดี แล้วพวกพูดทับศัพท์เนี่ยมันแย่มากป่าวอ่ะ”
--------

อ่านดูแล้วมีคำถาม (ปัญหา) หลายๆ อย่างนะครับครับ มาลองแยกปัญหาของคุณดีกว่ามั้ยครับ เพื่อจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และหาวิธีแก้ได้ตรงจุด

1. "เวลาอ่านบทความ มันนึกเป็นสำเนียงไทยอ่ะ"

ชี้ชัดได้ว่าคุณกำลังไม่ได้อ่านแบบกวาดสายตา แต่ว่าคุณอ่านแบบออกเสียงตามในใจ (นั้นก็คืออ่านทีละตัวแต่ไม่มีการเปล่งเสียงออกมาเท่านั้นเอง) ซึ่งการอ่านแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงมากๆ ครับ ทั้งการอ่านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ สมเด็จพระเทพฯ ท่านทรงกล่าวไว้ว่า การอ่านที่ถูกต้องคือการอ่านใจใจ ใช้สายตากวาดอยู่บนตัวหนังสือ และใช้ "ใจอ่าน"

การอ่านแบบออกเสียงตาม โดยเฉพาะกับการอ่านภาษาที่สองแล้วยิ่งพากันไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ เพราะว่าสมองของคุณต้องทำงานอย่างน้อยถึง 3 อย่างในเวลาเดียวกัน นั้นก็คือการอ่าน การฟังเสียงดูว่าชั้นออกถูกเปล่าหว่า และการทำความเข้าใจ แต่โดยส่วนตัว (ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นหรือเปล่า) เวลาอ่านแบบออกเสียงในใจ สมาธิส่วนมากจะไปอยู่ที่การฟังเสียงตัวเองว่าถูกหรือผิด ส่วนสมาธิที่จะไปสนใจว่าเนื้อเรื่องพูดเกี่ยวกับอะไรมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ และนั่นก็อธิบายได้ว่าทำไมคุณอ่านแล้วไม่เข้าใจสักที และต้องกลับมาอ่านซ้ำ (อย่างไรก็ตาม การอ่านประเภทเฉพาะเจาะจง เช่น "Practical criticism" ก็มีอ่านที่แตกต่างไป ซึ่งจะไม่พูดให้เวียนหัวแล้วกันเน้อ)

2. "อยากอ่านให้เข้าใจไปเลยไม่ต้องกลับไปอ่านซ้ำอีก"

ถ้าคุณได้ลองทำตามที่แนะนำด้านบนแล้ว เกิดยังอ่านไม่เข้าใจอีก "ก็จำเป็นต้องกลับไปอ่านซ้ำ"

ไม่เพียงแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ภาษาไทย เวลาคุณอ่านไม่เข้าใจคุณก็ต้องกลับไปอ่านซ้ำจริงมั้ย ดังนั้นการกลับไปอ่านซ้ำถือว่าไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่อย่างไรเน้อ

3. "แล้วคนที่เค้าอ่านโดยไม่ต้องเปิดดิกเนี่ย เค้าเดาความหมายหรือเรียนความหมายได้ยังไงอ่ะ"

ก็อย่างที่บอกข้างต้น ถ้าอ่านแบบวิธีที่แนะนำแล้ว (อ่านในใจ โดยการกวาดสายตาไปบนตัวหนังสือ แล้วปล่อยให้ใจอ่าน) คุณมีโอกาสที่จะอ่านได้เข้าใจและไม่เปิด dic เลย เพราะว่าแค่ศัพท์ไม่กี่ตัวที่เราไม่รู้ มันไม่ทำให้เราถึงขนาดไม่เข้าใจจุดประสงค์ของผู้เขียน หรือว่าสารได้นะ จำไว้ว่าการอ่าน เราสนใจที่ข้อมูล (สาร) ที่ผู้เขียนสื่อสารมา ไม่ได้สนใจคำศัพท์ทุกคำ
(ท่องไว้ว่า แหมข้าก็อ่านได้ ไม่ต้องง้อหรอกไอ้ศัพท์ไม่กี่ตัว แต่ว่าถ้าไม่รู้เยอะนี่ก็ไม่ไหวนะ แหะๆ ก็ต้องหมั่น “บังคับ” ตัวเองให้ท่องศัพท์ไว้บ้าง และก็ถ้าเกิดเจอศัพท์ไม่รู้บ่อยๆ (เน้นว่าต้องเจอบ่อยๆ เท่านั้น) ก็ต้องเปิด dic แล้วหละ เพราะนั่นแสดงว่า แหมไอ้เจ้าศัพท์ตัวนี้มันมีบทบาทไม่เช่นเล่น รู้จักมันหน่อยก็ดี วันหลังเจอจะได้จำได้)

ปัญหาอีกอย่างนึงที่ดูเหมือนหลายๆ คนมองไม่เห็น เพราะว่ามันช่าง "invisible" จริงๆ ก็คือ คุณเคยถามตัวเองหรือเปล่าว่า เอ . . . ตัวเราเองมีสมาธิในการอ่านหรือเปล่าน้า

ตอบมาสะยืดยาว ตอนนี้ลองถามตัวเองดูสิ คุณต้องกลับไปอ่านซ้ำหรือเปล่า หรือว่าคุณต้องกลับไปหาความหมายของคำว่า “practical criticism” หรือเปล่าเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด ??

w-bpf




โดย : นาย เกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัย, อดีตนร. รร. ศรีพฤฒา, วันที่ 6 มิถุนายน 2545