หัวมังกุท้ายมังกร(2)

ในปีนี้เมื่อสามพี่น้องมาพบกันก็ปรึกษากันจะสร้างบ้านให้พ่อแม่ใหม่
ลูกคนโตเลือกแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ขนาดปานกลาง คนที่ 2 เลือกซื้อเครื่องใช้ตกแต่งบ้านแบบยุโรป
ส่วนลูกคนที่3 เลือกตกแต่งบริเวณบ้านด้วยสวนแบบญี่ปุ่น
หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้ว สามพี่น้องก็ให้บิดามารดาไปชมบ้านก่อน นายชุบกับนางจิตปลื้มใจที่ลูกๆมีแก่ใจจัดหาบ้านดีๆให้อยู่ ครั้นเห็นบ้านแล้วรู้สึกอึดอัดใจทั้งคู่ไม่อยากย้ายบ้านแต่เกรงว่าลูกๆจะเสียน้ำใจจึงพูดกับลูกว่า"พ่อว่าบ้านนี้ดีนะ แตพ่อชอบแบบไทยแท้อะไรที่หัวมังกุท้ายมังกรอย่างบ้านนี้ ทนไม่ได้หรอก"
พอได้ยินเหตุผลของบิดาแล้ว ลูกทั้งสามจึงลืมคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนกันไป ในที่สุดลูกทั้งสามจึงซอมแซมบ้านเก่าที่คงเอกลักษณ์ของเดิมไว้ให้พ่อแม่
"หัวมังกุท้ายมังกร"เป็นคำเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน มีหลายอย่างปนเปกันจนหมดงาม
ในเรื่องนี้ลูกๆต่างหวังดีต่อพ่อแม่แต่ลืมนึกถึงความเหมาะสมกลมกลืนกัน ทำให้บ้านมีลักษณะหัวมังกุท้ายมังกร อยู่แล้วถึงจะสะดวกสบายแต่กายแต่ก็คงไม่สบายใจ เราเป็นคนไทยควรรักษาวัฒนธรรมไทยไว้ไม่ควรเอาอย่างวัฒนธรรมของชาติอื่นมากนัก เดียวจะเป็นเหมือนคำเปรียบเทียบนี้นะคะ



โดย : นาง สุชาดา ชาบาง, บ้านหัวค่าย, วันที่ 7 มิถุนายน 2545