คำสมาส

คำสมาส

อันชาติอื่นนั้นหนาอย่ามาใกล้ หลีกให้ไกลอย่ามาคู่ดูบัดสี
จับมือกันสันสกฤตกับบาลี ผูกไมตรีไม่ห่างกันสัมพันธ์มิตร
ความหมายนั้นแปลจากหลังมาหน้า ไขภาษาจึงจะเพราะเสนาะจิต
ท่านผู้ปัญญาไวใฝ่เฝ้าคิด บอกสักนิดเขาเรียกขานฉันคำอะไร

(เฉลย - คำสมาส)
คำสมาส เป็นการสร้างคำชนิดหนึ่ง โดยการนำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่สองคำขึ้นไปมารวมกันอาจเป็นบาลีกับบาลี สันสกฤตกับสันสกฤต หรือบาลีกับสันสกฤตก็ได้ ลักษณะของคำสมาส. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น การแปลความต้องแปลจากหลังมาหน้า เช่น ราชโอรส แปลว่า โอรสของพระราชา
ธาตุเจดีย์ แปลว่า เจดีย์และธาตุ ชลบุรี แปลว่า เมืองน้ำ ราโชวาท แปลว่า คำสอนของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น การอ่านต้องออกเสียงสระต่อเนื่องระหว่างพยางค์ท้ายของคำหน้าและพยางค์หน้าของคำท้าย เช่น ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ –หวัด – ติ – สาด ชลบุรี อ่านว่า ชน – ละ – บุ – รี
พยางค์ท้ายของคำหน้าจะประวิสรรชนีย์หรือเป็นตัวการันต์ไม่ได้ เช่น
สนุทรพจน์ อ่านว่า สุน – ทอน – ระ – พด
มนุษยธรรม อ่านว่า มะ – นุด – สะ – ยะ – ทำ
ศิลปวิทยา อ่านว่า สิน – ละ – ปะ – วิด – ทะ – ยา
และ คำ “วร” เมื่อสมาสกับคำอื่นแล้ว เมื่อนำมาเป็นราชาศัพท์ในภาษาไทย แผลงเป็น “พระ” เช่น
วรพักตร์ เป็น พระพักตร์ วรเนตร เป็นพระเนตร วรหัตถ์ เป็น พระหัตถ์

สนธิ เป็นวิธีการหนึ่งของการสมาสคำ สนธิเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปคำโดยการกลมกลืนเสียง
มี 3 ชนิดคือ สระสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงด้วยสระ เช่น มหา สนธิกับ อรรณพ เป็น มหรรณพ
นร สนธิกับ อินทร์ เป็น นรินทร์ นร สนธิกับ อิศวร เป็น นเรศวร นย สนธิกับ อุบาย เป็น นโยบาย โกสี สนธิกับ อินทร์ เป็น โกสินทร์ พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงด้วยการเปลียนแปลงพยัญชนะ เช่น มนัส สนธิกับ ภาว เป็น มโนภาพ เตชสส สนธิกับ ชย เป็น เตโชชัย และ นฤคหิตสนธิ
เป็นการกลมกลืนเสียงด้วยนฤคหิต เช่น ส สนธิกับ คม เป็น สังคม ส สนธิกับ ญา เป็น สัญญา
ส สนธิกับ ฐาน เป็น สัณฐาน ส สนธิกับ ภาษณ เป็น สัมภาษณ์






โดย : นาง สุกันย์ นางาม, นารีนุกูล, วันที่ 30 มิถุนายน 2545